การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
การบริหารเชิงกลยุทธ์, คุณภาพการศึกษา, Strategic management, Education al qualityบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 2) คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 3) ความสัมพันธ์ของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 97 โรงผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียนหรือรองผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้ทำหน้าที่แทน 2) ครู 3) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือการวิจัยเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิดของ วีลเล็นและฮังเกอร์ และคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการจัดทำกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ ด้านการตรวจสอบสภาพแวดล้อม และด้านการประเมินผลการควบคุม
2. คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านอัตลักษณ์ของโรงเรียน ด้านมาตรการส่งเสริม ด้านการจัดการศึกษา ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และด้านคุณภาพผู้เรียน
3. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงและเป็นในลักษณะคล้อยตามกัน
THE STRATEGIC MANAGEMENT OF ADMINISTRATORS AND THE EDUCATIONAL QUALITY OF SCHOOL UNDER SUPHANBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
The purposes of this research were to identify 1) the strategic management of the administrators under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3 2) the educational quality of school under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3 and 3) the relationship between the strategic management of the administrators and educational quality of school under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3. The samples were 97 schools under Suphanburi Primary Service Area Office 3. The respondents in each school were an school administrators/an assistant of school administrators/ an acting school administrator, a teacher and a chairman of school committee. The instrument employed for data collection was a questionnaire which was about the strategic management of the administrators based on Wheelen and Hunger’s concept and the educational quality of school in the regulation of the Ministry of Education that was about system, practice and the quality assurance in 2010. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson Product Moment Correlation Coefficient.
The research findings were as follows :
1. The strategic management of the administrator under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3, as a whole and an individual, were at a high level. In order arithmetic mean from maximum to minimum were as follows; 1) strategic formulation 2) strategic implementation 3) environmental scanning and 4) evaluation control.
2. The educational quality of school Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3, as a whole and an individual, were at a high level. In order arithmetic mean from maximum to minimum were as follows; 1) identity of the school 2) alternative enhancing 3) education administration 4) promote the learning society and 5) student’s quality.
3. The strategic management of the administrators and the educational quality of school under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3 was found correlated as a whole were at a high level at .01 level of significance which was positive correlated.