ปัจจัยความเสี่ยงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1

Main Article Content

สาวิตรี ง้วนหอม
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. ปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษา 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่น 1 ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลกลุม่ การศึกษาทอ้ งถิ่นที่ 1 ใน 5 จังหวัด คือ นครปฐม นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ และปทุมธานี กำหนดผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการ สถานศึกษาครูหัวหน้ากลุ่มสาระ 1 คน ประธานกรรมการสถานศึกษาหรือกรรมการสถานศึกษา 1 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยความเสี่ยง ตามแนวคิดของ ธร สุนธรายุทธ และประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของ ฮอยและมิสเกล สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปหาน้อยดังนี้ ปัจจัยความเสี่ยงด้านวัสดุทรัพยากร ปัจจัยความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพทางการเงิน ปัจจัยความเสี่ยงด้านปัญหาเศรษฐกิจ ปัจจัยความเสี่ยงต่อผลผลิตและบริการ ปัจจัยความเสี่ยงด้านบุคลากร ปัจจัยความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ปัจจัยความเสี่ยงด้านสังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยความเสี่ยงในโครงสร้างนโยบายสถานศึกษายกเว้นปัจจัยความเสี่ยงด้านการเมืองและกฎหมายมีค่ามัชฌิมเลขคณิตอยู่ในระดับปานกลาง

2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับค่า มัชฌิมเลขคณิตได้ดังนี้ คุณภาพโดยทั่วไป ความพึงพอใจในการทำงาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการขาดงาน และการออกกลางคันของนักเรียน อยู่ในระดับน้อย

3. ปัจจัยความเสี่ยงกับ ประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE RISK FACTOR AND EFFECTIVENESS OF MUNICIPALITY SCHOOL IN LOCAL EDUCATION GROUP 1

The purposes of this research were to determine ;1. the risk factor in Municipality school, 2. the effectiveness of Municipality school and the relationship between the risk factor and the effectiveness of Municipality school in Local Education Group 1. The population were Municipality School in Local Education Group 1. There were 3 respondents from each school consisted of a school director or an assistant school director, a chairman of school committee and a head of learning substance group, totally 120 respondents. The research instrument was a questionnaire concerning the risk factor based on the concept of Torn Suntrayut and the effectiveness based on the concept of Hoy and Miskel. The statistics were frequency, percentage, the arithmetic mean, standard deviation, and Pearson's Product Moment Correlation.

The results of the study were:

1. The risk factor in Municipality school in overall and most of individually was found at a high level, ranking from the highest arithmetic mean to the lowest arithmetic mean were 1. Material Factor 2. Management Factor 3.Money Factor 4. Economic Factor 5. Products and Service Factor 6. Man Factor 7. Technological Factor 8. Social-Cultural Factor and Structure Factor anyway except Political and Legal Factor was found at the middle level.

2. The effectiveness of Municipality school in overall was found at the middle level, ranking from the highest arithmetic mean to the lowest arithmetic mean in the order of the arithmetic mean as follows. 1. The overall quality 2. The job satisfaction and The achievement. By the way there were two aspects were found in low level ; the absenteeism and the dropout rate.

3. There was significant relation between the risk factor and the effectiveness of Municipality school in Local Education Group 1 at .01 level of significant.

Article Details

บท
บทความวิจัย