ระบบสารสนเทศกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ระบบสารสนเทศของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร 2) การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่า
1. ระบบสารสนเทศของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยคือด้านข้อมูล ด้านสารสนเทศ ด้านการประมวลผล และด้านการจัดเก็บข้อมูล
2. การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการแต่งตั้งและเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านวันทำงาน การลา และสวัสดิการ ด้านการออกจากงาน ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และด้านการอุทธรณ์และร้องทุกข์
3. ระบบสารสนเทศของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากรกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
THE INFORMATION SYSTEM AND PERSONNEL MANAGEMENT IN THE DEMONSTRATION SCHOOL FACULTY OF EDUCATION SILPAKORN UNIVERSITY
The purposes of this research were to study 1) the information system in the Demonstration school Faculty of Education Silpakorn University, 2) personnal management in the Demonstration school Faculty of Education Silpakorn University and 3) the relationship between information systems and personnal management in the Demonstration school Faculty of Education Silpakorn University. The sample were the director, assistant director and teacher with the total of 52 people. The research instrument was a questionnaire. The statistics were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s product–moment correlation coefficient.
The resulls were as follows :
1. The information system in the Demonstration school Faculty of Education Silpakorn University, as a whole and as an individual, was at a high level. Considering in each aspect, it was found that all aspects were at a high level. To rearrangement by arithmetic mean from high to low were data, information technology, information processing. And data storage.
2. The personnal management in the Demonstration school Faculty of Education Silpakorn University, as a whole and as an individual, was at a high level. Considering in each aspect, it was found that all aspects were at a high level. To rearrangement by arithmetic mean from high to low were the appointment and the salary, the day's work, leave and benefits, the quietus, Disciplinary and disciplined, Developing and enhancing performance And appeals and grievances.
3. The information system and the personnal management in the Demonstration school Faculty of Education Silpakorn University were the significant relationship at .01 level of significance.