ความฉลาดทางอารมณ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ รัศมี สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 86 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของโกลแมน (Goleman) และการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของเฟรนช์และราเวน (French and Raven) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการจูงใจตนเอง ด้านการควบคุมตนเอง ด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง และด้านทักษะทางสังคม

2. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ ด้านอำนาจอ้างอิง ด้านอำนาจการให้รางวัลด้านอำนาจตามกฎหมาย และด้านอำนาจการบังคับ

3. ความฉลาดทางอารมณ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE EMOTIONAL INTELLIGENCE AND THE POWER OF SCHOOL ADMINISTRATOR UNDER SAMUT SAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

The purposes of this research were to determine 1) the emotional intelligence of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office, 2) the power of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office, and 3) the relationship between emotional intelligence and the power of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. The sample of this research consisted of 86 schools in Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. The respondents were a director, a deputy director or an acting deputy director, and 2 teachers, with the total of 344 persons. The research instrument was a questionnaire regarding emotional intelligence of school administrator based on Goleman and the power of school administrator based on French and Raven. The statistics used were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The findings revealed as follows :

1. The emotional intelligence of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office, as a whole and each aspect, was at a high level; ranking from the highest mean to the lowest mean : motivation, self-regulation, empathy, self-awareness and social skills.

2. The power of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office, as a whole and each aspect, was at a high level; ranking from the highest mean to the lowest mean : expert power, referent power, reward power, legitimate power and coercive power.

3. The relationship between the emotional intelligence and the power of school administrator under Samut Sakhon

Downloads