บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 5

ผู้แต่ง

  • ณิฐชานันท์ รุจิราภัทรสิทธิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นุชนรา รัตนศิระประภา ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 2) การดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จำนวน 56 โรง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) รองผู้บริหารสถานศึกษา 3) และ 4) ครู รวมทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของมินทซ์เบิร์ก และการดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามแนวปฏิบัติการระดมทรัพยากรของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการตัดสินใจ ด้านสารสนเทศ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

2. การดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การใช้จ่ายทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นที่ได้รับจากการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา การระดมทรัพยากรต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ตามความเหมาะสม และความจำเป็นสถานศึกษาสามารถระดมทรัพยากรได้ตามมาตรา 58 สถานศึกษาต้องรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการระดมทรัพยากรต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องแต่งตั้งคณะกรรมการระดมทรัพยากรของสถานศึกษา และสถานศึกษาต้องเสนอแผนและโครงการในการระดมทรัพยากรต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 มีความสัมพันธ์กันโดยภาพรวมในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE ROLES OF SCHOOL ADMINISTRATOR AND THE PERFORMANCES OF EDUCATIONAL RESOURCES MOBILIZATION UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 5

The purposes of this research were to identify 1) the roles of school administrator under the Secondary Educational Service Area Office 5, 2) the performances of educational resources mobilization under the Secondary Educational Service Area Office 5, and 3) the relationship between the roles of school administrator and the performances of educational resources mobilization under the Secondary Educational Service Area Office 5. The samples were 56 schools under the Secondary Educational Service Area Office 5. There were 4 respondents from each school consisted of an administrator, an assistant administrator, and 2 teachers, with the total of 224 respondents. The research instrument was a questionnaire concerning manager’s roles based on Mintzberg’s theory and the mobilization guideline under the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. The statistical used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product-moment correlation coefficient.

The findings of the research were as follows:

1. The roles of school administrator under the Secondary Educational Service Area Office 5, as a whole and an individual, were at a high level, in order arithmetic mean from maximum to minimum were as follows; decisional role, informational role, and interpersonal role.

2. The performances of educational resources mobilization under the Secondary Educational Service Area Office 5, as a whole and an individual, were at a high level, in order arithmetic mean from maximum to minimum were as follows; the expenditure of asset and other resources which come from the mobilization resources, the mobilization must be willingness, suitability, and necessity, the school could mobilize resources according to the section 58, the school has to report the overall results of the mobilization resources performance to the basic educational school committees, the school has to appoint the mobilization resources’ committees, and the school must present the mobilization resources’ plan and project to the basic educational school committees for approval.

3. The roles of school administrator under the Secondary Educational Service Area Office 5 and the performances of educational resources mobilization under the Secondary Educational Service Area Office 5 were found correlated as a whole and were at a high level at .01 level of significance.

Downloads