บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • ชาติชาย ศรีจันทร์ดี สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรกาญจน์ สุขสดเขียว ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 3 2) การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จำนวน 39 โรง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และครูผู้สอน 2 คน รวมทั้งสิ้น 156 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของแฟเรนและเคย์ (Farren and Kaye) และการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (\dpi{80} \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (rxy)

ผลการวิจัยพบว่า

1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้านเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ผู้อำนวยความสะดวก ผู้ประเมิน ผู้ส่งเสริม สนับสนุน ผู้คาดการณ์ และผู้ให้คำปรึกษา

2) การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู 2556 อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้านคือ มาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ) และอยู่ในระดับมากจำนวน 2 ด้าน เรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ มาตรฐาน การปฏิบัติงาน และมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

SCHOOL ADMINISTRATOR’S ROLE AND TEACHER PERFORMANCE  ACCORDING TO PROFESSIONAL STANDARDS A.D. 2013

The purposes of this research were to find: 1) the administrator’s roles in Secondary Educational Service Area Office 3, 2) the performance according to teacher professional standards 2013 in Secondary Educational Service Area Office 3, 3) the relationship between the administrator’s roles and the performance according to teacher professional standards A.D. 2013  in Secondary Educational Service Area Office 3. The samples in this research consisted of 39 schools in Secondary Educational Service Area Office 3. The respondents were a school administrators, deputy administrator and two teachers, totally 156 respondents. The research instrument used for gathering data was a questionnaire concerning the administrator’s roles based on the viewpoint of Farren and Kaye, and the performance according to teacher professional standards A.D. 2013 based on the teachers’ council of Thailand regulation. The statistics applied in data analysis were frequency (f), percentage (%), arithmetic mean (\inline \bar{X}), standard deviation (S.D.) and Pearson’s product – moment correlation coefficient (rxy).

The results of this research were as follows:  

1) The administrator’s roles in Secondary Educational Service Area Office 3, as a whole was at a high level, as an individual was at a high level, ranking from the highest mean to the lowest: facilitator, appraiser, enabler, forecaster and adviser.  

2) The performance according to teacher professional standards A.D. 2013 in Secondary Educational Service Area Office 3, as a whole was at a high level, an aspect was at a highest level: self performance standard and 2 aspects were at a high level, ranking from the highest mean to the lowest: job performance standard, knowledge and professional experience standard.  

3) The relationship between the administrator’s roles and the performance according to teacher professional standards A.D. 2013 in Secondary Educational Service Area Office 3 was correlated at a high level significant at the level of .01.

Downloads