การมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของข้าราชการทหาร หน่วยทำลายวัตถุระเบิด ในการปฏิบัติงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

พัฒนพงษ์ สุรพิน
สุรางค์ ณรงค์ศักดิ์สกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีเพื่อ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของข้าราชการทหารหน่วยทำลายวัตถุระเบิดในการปฏิบัติงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในบริหารความเสี่ยงของข้าราชการทหารหน่วยทำลายวัตถุระเบิดในการปฏิบัติงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำแนกตาม ภูมิลำเนา ประสบการณ์ในการทำงาน สังกัด และชั้นยศ (3) เพื่อศึกษา ความรู้ความเข้าใจของข้าราชการทหารเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของหน่วยทำลายวัตถุระเบิด ในการปฏิบัติงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงกับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของข้าราชการทหารหน่วยทำลายวัตถุระเบิดในการปฏิบัติงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ข้าราชการทหารหน่วยทำลายวัตถุระเบิดในการปฏิบัติงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .980 และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่า เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้าราชการทหาร หน่วยทำลายวัตถุระเบิด ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.63 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง (ช่วงคะแนน 6.46 - 11.61) และ (2) ข้าราชการทหารหน่วยทำลายวัตถุระเบิดมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (\dpi{80} \bar{X} = 4.053,S.D. = .813) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ข้าราชการทหาร หน่วยทำลายวัตถุระเบิด ในการปฏิบัติงานพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ภูมิลำเนา และสังกัด ต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P=.038 และ .000 ตามลำดับ) แต่ด้านประสบการณ์ และด้านชั้นยศ ไม่แตกต่างกัน และ2) ความรู้ความเข้าใจของข้าราชการทหารเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง มีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน ในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญ .05 (r=.587, P=.000)

 

PARTICIPATION IN RISK MANAGEMENT OF EXPLOSIVE ORDNANCE DISPOSAL OFFICER, WORKING IN THE SOUTHERN BORDER THREE PROVINCES.

The purposes of this research were (1) to study participation in risk management of the explosive ordnance disposal officers working in the three southern border provinces, (2) to compare participation in risk management of the explosive ordnance disposal officers working in the three southern border provinces classified by rank of army, department , working experience and hometown, (3) to study knowledge and understanding about risk management of the explosive ordnance disposal unit officers working in the three southern border provinces, and (4) to study relationship between knowledge and understanding about risk management and participation in risk management of the explosive ordnance disposal officers. The samples used in this study were 143 explosive ordnance disposal officers working in three southern border provinces. The data were collected by a five-scale questionnaire which had .980 confidence value and a structured interview. The statistic tools used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and Pearson product moment correlation coefficient with the level of statistical significance at .05.

The purposes of this research were The results showed that 1) most of the explosive ordnance disposal officers (70.63%) had knowledge and understanding about risk management at a moderate level (the interval scale was 6.46 - 11.61), and 2) the participation in risk management of the explosive ordnance disposal officers was at a high level (\dpi{80} \bar{X} = 4.053, S.D. = .813). The hypothesis testing showed that 1) hometown and department of the explosive ordnance disposal officers significantly affected the overall participation in risk management at the .05 level of significance (P=.038 and .000 respectively), but working experience and rank of army did not significantly affect their participation in risk management, and 2) the knowledge and understanding of explosive ordnance disposal officers positively and significantly correlated with participation in risk management at a moderate level (r=.587, P=.000).

Article Details

บท
บทความวิจัย