ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

พัชรี แสงบุญ
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระฯ/หัวหน้างาน และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 5 ปี ของโรงเรียนในกลุ่มจตุรวิทย์ จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มจตุรวิทย์ โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านพลวัตการเรียนรู้การปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการความรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร ด้านการให้อำนาจแก่บุคคล และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ตามลำดับ

2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มจตุรวิทย์ พบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการความรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร และด้านการให้อำนาจแก่บุคคล ปัจจัยการสร้างและถ่ายโอนความรู้ มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านพลวัตการเรียนรู้การปฏิบัติงาน และปัจจัยเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่ม จตุรวิทย์อยู่ในระดับมาก ( \dpi{80} \mu = 4.02) และปัจจัยทั้ง 11 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสถานศึกษา สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มจตุรวิทย์ (r = .841) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01

 

FACTORS RELATED TO DEVELOPMENT TO LEARNING ORGANIZATION OF SCHOOL IN CHATURAVIT GROUP, THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2

The purposes of this study were 1) to study the organization of the Chaturawit group, The Education Service Area office 2. and 2) to study the factors related to development to learning organization of school in the Chaturawit group, The Education Service Area office 2. The sample in this study, including director, Deputy director Head of group learning /supervisor and teachers have worked more than 5 years. The research instrument was the constructed questionnaires. The statistics analyses were frequency, percentage, mean, standard deviation and the Pearson correlation coefficient.

The results were found that

1. The level of organization learning in overall at high level. Considering the dynamics of the learning performance is highest to lowest were knowledge management, Realignment, Empowering people and application of technology, respectively.

2. Factors related to development of education to learning organization of school in the Chaturawit group, showed that the learning culture of the organization correlated with 3 areas include knowledge management, Realignment, Empowerment. Factor in the creation and transfer of knowledge correlated with learning dynamics practice and the factors of technology supported learning correlated with the level of technology applied principal at the 0.01 statistically significant level.

3. The hypothesis testing showed that the level of organization learning in overall at high level. (\dpi{80} \mu = 4.02) and the eleven factors related to development to learning organization of school in the Chaturawit group (r = .814). Principal at the 0.01 statistically significant level. 

Article Details

บท
บทความวิจัย