การจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ ดวงธนู สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ศันสนีย์ จะสุวรรณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การบริหารงานวิชาการ, Knowledge Management, Academic Administration

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขอบเขตการจัดการความรู้ด้านงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3) เพื่อนำ เสนอองค์ความรู้การบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) และการสำรวจ (survey) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ รองอธิการบดี จำนวน 2 คน ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ คณบดี/ผู้อำนวยการ หรือรอง คณบดีฝ่ายวิชาการ/รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 13 คน และผู้บริหารระดับต้นได้แก่หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้างาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้

ผลการวิจัย พบว่า

1. ขอบเขตการจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาคือเรื่อง การลงทะเบียน เรียนและประเมินผลการเรียน

2. แนวทางการจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า มีการดำเนินการ จัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดเก็บความรู้ให้เป็น ระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การเรียนรู้

3. การนำเสนอองค์ความรู้ในการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้วิจัยดำเนินงานตาม แผนการจัดการความรู้ พบว่า องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ 1) การจัดระบบรหัสรายวิชา 2) การจัดระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศในการลงทะเบียนเรียน 3) การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการส่งค่าระดับคะแนน และการแก้ไข ค่าระดับคะแนน

 

KNOWLEDGE MANAGEMENT ON ACADEMIC ADMINISTRATION IN SUANSUNANDHA RAJABHAT UNIVERSITY

The objectives of this research were 1) to study the Topic of knowledge management for academic administration in Suan Sunandha Rajabhat University. 2) to provide guidelines the knowledge management for academic administration in the University and 3) to provide the knowledge in academic administration in the University. This research was qualitative research, collecting data by documentary content analysis, survey, in-depth Interview the vice president, dean/director, deputy dean, supervisors and first line manager 22 respondents in total and group discussion 20 people who work in academic affair with the knowledge management process.

The findings of this research were as follows:

1. Topic of the knowledge management in the academic administration of the university were enrollment and evaluation and of the knowledge management goal in the university were the solutions for enrollment and the sending grade.

2. Guidelines for the knowledge management in the academic administration of the university found that the implementation of knowledge management were seven steps: 1) Knowledge Identification 2) Knowledge Creation and Acquisition 3) Knowledge Organization 4) Knowledge Codification and Refinement 5) Knowledge Access 6) Knowledge Sharing 7) Learning

3. The knowledge in the academic administration of the university found 3 objects : 1) the system of course code 2) the information technology systems for enrollment 3) the information technology systems for submitting grade and repairing grade level.

Downloads