การบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง

Main Article Content

ชบาบุญ ศรีรัตนภรณ์
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับและเปรียบเทียบการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเสนอแนะแนวทางในการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง ประชากรที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง จำนวน 1,185 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 คน โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง จำนวน 291 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งสิ้น 285 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.94 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบ t - test การทดสอบแบบ F – test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้บริหารและครูในโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักความรับผิดชอบ รองลงมา คือ หลักคุณธรรม หลักความมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักความโปร่งใส และหลักนิติธรรม ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริหารและครูในโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง ที่มีอายุและประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

3. แนวทางในการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือหลักนิติธรรม ผู้บริหารควรกำหนดนโยบาย มีแผนแม่บทอย่างชัดเจน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและประสบการณ์การทำงานของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลเกือบทุกด้าน

 

SCHOOL ADMINISTRATION ACCORDING TO GOOD GOVERNANCE PRINCIPLES FOR SCHOOL PRINCIPALS IN THE JURISDICTION OF BANGKOK METROPOLITAN AUTHORITY, CENTRAL BANGKOK AREA

The purposes of the study were to study and to compare the administrators and teachers’ opinion toward school administration according to good governance principles for school principals categorized by the personal’s factors and to suggest the suitable ways of school administration according to good governance principles for school principals. The population were 1185 school principals and teachers in the Jurisdiction of Bangkok metropolitan authority, central Bangkok area. A total of 291 were examples group and 285 samples were selected from the population by using Proportion Stratified random sampling. The research instrument was the constructed questionnaires. A total of 291 questionnaire were sent out all were not completed questionnaires and returned about 285 by 97.94 percent. The statistical analyses were frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test , independent sample F-test and one-way ANOVA.

Results of this research were found that

1. The school principals and teachers’ opinion toward the school administration according to good governance principles for school principals in overall was at high level. The ranging of school administration according to six good governance principles for school principals from the highest to lowest were responsibility, morality, participation, transparency, values and rule of law, respectively.

2. The school principals and teachers who had different ages and experiences had the significantly different opinions toward the school administration according to good governance principles for school principals at 0.05 levels.

3. Guidelines for the management of schools by Good governance of schools with the lowest average is the rule of law, management policy should clearly a master plan. In addition, personal factors related to age and experience of the administrators and and teachers in schools affects comments on the management of the schools the principles of good governance in all aspects.

Article Details

บท
บทความวิจัย