การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการและกำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนสองภาษา(ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.8 - 1.0 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 เก็บรวมรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวน 148 คน ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมด 136 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.89 แล้วจึงทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติที่เป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์ร่วมในการเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร 12 คน ตรวจสอบความถูกต้องโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยแต่ละขั้นตอนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภาษาจีนในสถานศึกษาและการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการที่อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอน พบว่า (1) การวางแผนการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมากทุกเรื่อง โดยโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนามาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีบางโรงเรียนที่พัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาภาษาจีน มีการจัดประชุมให้ครูไทยและครูจีนร่วมกันวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดวิชาเป็นภาษาจีนในวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาศิลปะ วิชาสุขศึกษาและวิชาภาษาจีน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร มีการจัดทำแผนการบริหารงานวิชาการเกี่ยวกับวิชาภาษาจีนเพียงบางโรงเรียน (2) การจัดการเรียนการสอนภาษาจีน อยู่ในระดับมากทุกเรื่อง โดยโรงเรียนบางแห่งมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าเรียน ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร มีการจัดตารางเรียน จำนวน 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับ 5 วิชาภาษาจีน มีการใช้แผนการจัดการเรียนรู้หลากหลาย แต่ยังประสบปัญหาในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เนื่องจากภาษาจีนที่ใช้เป็นคำยากที่จะเข้าใจ และครูจีนบางคนยังขาดเทคนิคการสอนที่เหมาะสม (3) การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียน และการจัดสื่อและวัสดุเพื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการส่งเสริมให้มีแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาจีนที่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งดำเนินการร่วมกันโดยตัวแทนครูไทยและครูจีนบางแห่งแล้วส่งหนังสือให้กับทุกโรงเรียนให้ผู้สอนเลือกใช้ มีการพัฒนาสื่อร่วมกัน มีการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์สำหรับห้องเรียนภาษาจีน มีการจัดห้องวัฒนธรรมจีนให้เรียนรู้เพิ่มเติม (4) การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนและการเทียบโอนผลการเรียน อยู่ในระดับมากเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเทียบโอนผลการเรียนภาษาจีนไปยังโรงเรียนอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการวัดผลและประเมินผลแต่ละภาคเรียน 2 ครั้ง คือ การสอบที่เป็นภาษาจีน 5 วิชา และการสอบด้วยภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังมีการสอบวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาจีน ที่เป็นข้อสอบภาษาจีนทั้งฉบับปีการศึกษาละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นมา (5) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาภาษาจีน อยู่ในระดับปานกลางเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการจัดอบรมเพื่อพัฒนาครูที่สอนภาษาจีนและการจัดประชุมทางวิชาการภาษาจีนอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับมาก โดยมีการนิเทศการสอนร่วมกัน มีการประเมินครูจีนเพื่อต่อสัญญาจ้าง มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเฉพาะครูไทย มีการจัดประชุมร่วมระหว่างครูไทยและครูจีนที่สอนคู่กันก่อนเปิดภาคเรียน (6) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลางทุกเรื่อง โดยมีการแนะแนวการศึกษา มีการจัดอบรมภาษาจีนให้แก่ชุมชน และเทศกิจ มีการประสานงานกับสถาบันทางภาษาจีนจัดกิจกรรมในวันสำคัญ มีการแลกเปลี่ยนครูไทยกับครูจีนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการศึกษาต่อด้านภาษาจีนของครู แต่ขาดการจัดการศึกษาต่อยอดระดับมัธยมศึกษาในหลักสูตรสองภาษา(ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ พบว่า ควรมีการพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนและกำหนดให้ใช้หลักสูตรเดียวกัน จัดทำแผนการบริหารงานวิชาการและแนวปฏิบัติ ควรเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร กำหนดผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถตามที่โรงเรียนต้องการ เตรียมการรองรับปัญหาครูจีนลาออก จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน จัดกิจกรรมตามหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดนิทรรศการให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ จัดเรียนพิเศษซ่อมเสริม รับนักเรียนตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ควรให้ทุกโรงเรียนมีโอกาสเลือก ตามความต้องการแทนการจัดสรร จัดหาและ/หรือพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จัดห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ ควรใช้ข้อสอบจากสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สอบคัดเลือกนักเรียน มีการสอบวัดความรู้ภาษาจีนประจำภาคการศึกษา นิเทศ และประเมินผลการสอนของครู ปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอโดยพิจาณาจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียนโดยครูไทยและครูจีน จัดประชุมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเกี่ยวกับภาษาจีน ควรเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนให้แก่ชุมชน ประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น สอนภาษาจีนสำหรับครูและบุคลากรในโรงเรียน จัดให้มีทุนการศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความสามารถด้านภาษาจีน เปิดโรงเรียนขยายโอกาสเพื่อต่อยอดหลักสูตรสองภาษา(ไทย-จีน)
ACADEMIC ADMINISTRATION OF THE BILINGUAL SCHOOL (THAI-CHINESE) PROGRAM UNDER BANGKOK METROPOLITAN
The purpose of this mix method survey research was to study the level of academic administration and to suggest the guidelines to develop academic administration in the bilingual school (Thai-Chinese) under Bangkok Metropolis. 148 questionnaires which were 0.96 reliability and 0.80-1.00 line item validity were sent out. 136 (91.98 percentage) were completed to be analyzed. The data was analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation. And Also using the constructed interview which 0.80 -1.00 line item validity interviewed 12 administrators to collect qualitative data, checked the data correction with triangulation technique, and analyzed using content analysis.
The research findings were as follows:
1. The level of academic administration in overall was at the high level, most of each steps were at the high level except the step of Chinese learning quality’s development and the step of academic promotion and supporting were at the moderate level. For detail in each steps, the step of academic administration planning were at the high level every items. Most of schools used basic education’s core curriculum, some schools developed their own Chinese curriculum. There were setting Thai-Chinese teachers meeting to analyze and arrange the Chinese subject guideline of 5 subjects : arithmetic, science, art, hygiene, and Chinese language, but it wasn’t success enough, and also had the Chinese academic administration plan in some schools. The step of learning and instruction were at the high level for every items. Some schools selected students by testing according to Bangkok Metropolitan policy. There were setting learning schedule 15 hour per week for 5 Chinese subjects, used various learning management plans, got the problem in science learning and instruction because it was difficult to understand in Chinese language. And also some Chinese teachers were lake of suitable method of teaching. The step of book selection and media and materials arrangement for learning and instruction were at the high level almost of items except the promotion of Chinese learning resources’ center was at the moderate level. The representation of Chinese and Thai teacher in some schools selected and sent the books to every schools for use, cooperated the media development, purchased materials and durable articles for the Chinese classroom, arranged the Chinese cultural room for the extra learning. The step of measurement and evaluation and transferring were at the high level almost of items except the transferring to others school was at the moderate level. There were the measurement and evaluation 2 times per semester : 5 Chinese subjects testing and Thai testing according to basic education curriculum, and also tested with Chinese paper test once a year. The step of Chinese learning quality development were at the moderate level almost of items except the teachers’ workshop for Chinese language teaching and the Chinese academic meeting continuously were at the high level. There were the cooperative supervision, evaluating Chinese teacher to continue the contract, taking the classroom research for Thai teachers, setting the dual Chinese teacher and Thai teacher meeting before semester opening yearly. The step of academic promotion and supporting were at the moderate level all of items. There were the guidance from others Chinese curriculum school, arranged the Chinese workshop for community and Bangkok Metropolitan official, cooperated with Chinese Institute setting the activities, exchanged Thai teachers with Chinese teachers from the republic of China, set the further studying in Chinese language for Thai teacher, but wasn’t the education extension to secondary level
2. The development guidelines were : schools should develop the Chinese curriculum and assign to be used for every schools, set the Chinese administration plan and academic guidelines, emphasis the learning and instruction for communication, appoint able teachers, prepare for Chinese teachers retirement’s problem, set the cooperative learning and instruction plan, set the curriculum and student development activities, set various activities for students to show their ability, set the special classroom for improving the student learning, receive the student according to Bangkok Metropolitan’ policy, give a chance for schools selecting the textbooks by themselves, find or develop suitable material, equipment, media, innovation and technology, set the library and learning center, use the examination from the Education Office, Bangkok Metropolitan to select students, test the knowledge of Chinese language every semester, supervise and evaluate the teachers’ instruction, improve learning and instruction continuously by examining from the students’ achievement, take the research for quality development and assign the classroom action research for Thai and Chinese teachers, set the academic meeting continuously, develop the internal quality assurance system about Chinese learning and instruction, publicize the Chinese language knowledge to community, cooperate for academic development with others school and organization, teach Chinese language to Thai teacher and staff, establish scholarship, set the cooperative network with the others Chinese language organization, and open the extension school to secondary level .