การถอดบทเรียนความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษากระบวนการบริหารที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการบริหารโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่สร้างความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.8 -1.0 และนำผลสัมภาษณ์ มาตรวจสอบความถูกต้องโดยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) แล้วสังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากนั้นจึงจัดการประชุมกลุ่ม (Focus Group)ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนโดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วย คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษาจีนห้องเรียนขงจื่อไตรมิตรวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้บริหารสูงสุดโดยมีรองผู้อำนวยการ และหัวหน้างานเป็นผู้รับนโยบายมาบริหารจัดการโดยแบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย ได้แก่ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคคล งานทั่วไปและงานนโยบายและแผนโดยจะมีการระดมความคิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบาย มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบมีการวิเคราะห์หลักสูตรและพัฒนาให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนที่มุ่งเน้นให้มีการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนที่หลากหลาย พร้อมทั้งกำหนดงบประมาณประจำปีที่ได้รับการสนับสนุนจากวัดไตรมิตรวิทยารามและพระพรหมมังคลาจารย์ ประธานมูลนิธิร่มฉัตร กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานสาธารณรัฐประชาชนจีน และการสนับสนุนจากชุมชนมาดำเนินการตามแผนปฏิบัติการมีการกำหนดแนวทางการติดตามตรวจสอบ และสรุปรายงานผลการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ มีการสำรวจความต้องการครูสอนภาษาจีนและกำหนดทักษะความสามารถในด้านต่าง ๆ ของครูผู้สอนทั้งชาวไทยและชาวจีนอย่างเหมาะสมมีการพัฒนาบุคลากรโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านภาษาทั้งครูไทยและครูจีน มีการพัฒนาครูไทยโดยการส่งไปอบรมภาษาจีนที่ประเทศจีนมีการเข้าสังเกตและติดตามผลการปฏิบัติงานโดยผู้บริหารอย่างใกล้ชิด และมีการจัดประชุมเพื่อติดตามผลและสภาพปัญหาในการจัดเรียนการสอน รวมทั้งเทคนิคการสอน มีการส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมทางด้านภาษาจีนทั้งในและนอกสถานศึกษาผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
2. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 พบว่าประกอบด้วย (1) หลักสูตรภาษาจีน (2) พื้นฐานภาษาจีนของนักเรียน(3)ทักษะภาษาไทยของครูชาวจีน และ(4) ขนาดพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน
3. ปัจจัยที่สร้างความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 พบว่าประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์ของพระพรหมมังคลาจารย์ (2) ผู้บริหารโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย (3) ความเชี่ยวชาญเฉพาะของบุคลากร (4) ความเข้มแข็งทางวิชาการด้านภาษาจีน (5) วัฒนธรรมองค์กร (6) สถานที่ตั้งของโรงเรียน และ (7) ความร่วมมือจากชุมชน
LESSON DISTILLED FROM THE ADMINISTRATION SUCCESS OF TRAIMITWITTAYALAI HIGH SCHOOL WHICH CHINESE LANGUAGE INSTRUCTIONAL PROMOTION UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1
The purposes of this research were: (1) to study the process related to the successful administration of Traimitwittayalai High School in which Chinese language instruction was promoted, (2) to study the problems and the obstacles relevant to the administration of the school, and (3) to analyze the key factors involved in the administrative success of the school. The structured interview in which content validity ranging from 0.8 – 1.0 was used for an in-depth interview to 10 purposive samples: the founders, both current and former administrators, as well as others related to the school’s administration. The data obtained was verified by the method of triangulation and analyzed by the content analysis. And also focus group meeting was conducted the conclusion.
The research findings were as follows:
1. The success of Traimitwittayalai High School Chinese Language Promotion program began with the administrative line, having the school board committee as the top administrator in launching policies. The advisory board consisted of Phra Phrommanggalajaraya , the Traimitwittayalai High School Alumni Association, the Traimitwittayalai High School Parent-Teacher Association, the Quality Assurance Association, and the Traimitwittayalai High School Confucius Classroom Association. The head director, along with five deputy directors, put those policies into action. The five deputy directors were responsible for academics, budget, personnel, and general and work plan administration affairs. Moreover, the advisory board supported community cooperation brain storming for Chinese language curriculum development plan, the Ministry of Education budget, Phra Phrommanggalajaraya, and the China Confucius classroom and community administrative plan. Follow-up systems included a work supervision system accepted by administrators and staffs, and promoting Chinese language skills both and outside of the classroom.
2. The problems and obstacles successfully administering the Traimitwittayalai High School Chinese language promotion program included: (1) Chinese Teaching of Curriculum, (2) Chinese language backgrounds of the students, (3) the Thai Language skills of the Chinese Teachers and (4) the limitations of the school area.
3. The key factors of success in the program were (1) the vision of Phra Phrommanggalajaraya (2)the administration (3) the specialization of Chinese staff (4) academic excellence (5) The organizational culture of the school, (6) the location of the School, and (7) community participation.