คุณภาพชีวิตของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

Main Article Content

อำนวยพร สอิ้งทอง
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) คุณภาพชีวิตของผู้บริหารในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 และ 3) คุณภาพชีวิตของผูบ้ ริหารที่สง่ ผลตอ่ ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 103 โรงผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตัวแทนผู้ปกครอง) รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้บริหาร ตามแนวคิดขององค์การยูเนสโก และประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของลูเนนเบิร์กและออสเตน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพชีวิตของผู้บริหารในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยคือ คุณภาพชีวิตด้านสังคม คุณภาพชีวิตด้านความเป็นมนุษย์ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม และ คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจส่วนคุณภาพชีวิตด้านสภาพทั่วไปของชีวิต อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ พันธกิจของสถานศึกษามีความชัดเจนทุ่มเทเวลาในการทำงาน การมีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ปกครอง บรรยากาศของความคาดหวังที่สูงสภาพแวดล้อมเป็นระเบียบและปลอดภัยและการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

3. คุณภาพชีวิตของผู้บริหารทุกด้าน ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยคุณภาพชีวิตด้านความเป็นมนุษย์ คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ และ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาด้านสภาพแวดล้อมเป็นระเบียบและปลอดภัย คุณภาพชีวิตด้านความเป็นมนุษย์และคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาด้านพันธกิจของสถานศึกษามีความชัดเจน คุณภาพชีวิตด้านความเป็นมนุษย์ คุณภาพชีวิตด้านสภาพทั่วไปของชีวิต และคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านการมีภาวะผู้นำทางวิชาการ คุณภาพชีวิตด้านความเป็นมนุษย์ คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตด้านสภาพทั่วไปของชีวิต และ คุณภาพชีวิตด้านสังคมส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาด้านบรรยากาศของความคาดหวังที่สูง คุณภาพชีวิตด้านสภาพทั่วไปของชีวิตและคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาด้านทุ่มเทเวลาในการทำงาน และ ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ คุณภาพชีวิตด้านสภาพทั่วไปของชีวิตและคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ปกครอง

 

THE SCHOOL ADMINISTRATOR’S QUALITY OF LIFE AFFECTING THE SCHOOL EFFECTIVENESS UNDER SUPHANBURI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2

The purposes of this research were to identify 1) the school administrator’s quality of life under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, 2) the school effectiveness under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2 and 3) the school administrator’s quality of life affecting the school effectiveness under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. The samples were 103 schools under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. The respondents of each school were an administrator / an assistant, a teacher and a representative of parent, 309 respondents in total. The research instrument was a questionnaire about the school administrator’s quality of life based on UNESCO framework and the school effectiveness based on Lunenburg and Ornstien viewpoint. The statistics applied in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The findings revealed as follows :

1. The school administrator’s quality of life under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2 as a whole aspect was at a highest level. There were 4 highest level which were ranking with arithmetic mean from high to low were; the social elements of quality of life, humanistic elements of quality of life, environment elements of quality of life, economic elements of quality of life and biological elements of quality of life.

2. The school effectiveness under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2 as a whole and each aspect were at a high level. As ranking with arithmetic mean from high to low was; a clear school mission, high time on task, instructional leadership, positive home - school relations, a climate of high expectations, a safe and orderly environment and frequent monitoring of student progress.

3. All aspects of the school administrator’s quality of life were affecting the school effectiveness under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. By the findings found that 1) humanistic elements of quality of life, economic elements of quality of life, and environment elements of quality of life affecting the school effectiveness in the aspect of safe and orderly environment 2) humanistic elements of quality of life and economic elements of quality of life affecting the school effectiveness in the aspect of clear school mission 3) humanistic elements of quality of life, biological elements of quality of life and economic elements of quality of life affecting the school effectiveness in the aspect of instructional leadership 4) humanistic elements of quality of life, economic elements of quality of life, biological elements of quality of life and social elements of quality of life affecting the school effectiveness in the aspect of climate of high expectations 5) biological elements of quality of life and economic elements of quality of life affecting the school effectiveness in the aspect of high time on task and frequent monitoring of student progress 6) biological elements of quality of life and environment elements of quality of life affecting the school effectiveness in the aspect of positive home - school relations.

Article Details

บท
บทความวิจัย