การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ

Main Article Content

องอาจ วิจิตรวรกาญจน์
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 2) แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ บุคลากรของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ประกอบด้วย ผู้บริหาร 4 คน และครูผู้สอน 50 คน รวมทั้งสิ้น 54 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การสนทนากลุ่ม จากผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ รวมจำนวน 12 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณารายด้าน พบว่าการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ วางแผนพัฒนาครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากร และอยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้าน คือประชุมคณะกรรมการ การสรุปและรายงานผล การดำเนินงานพร้อมประชาสัมพันธ์ กำหนดให้มีการนิเทศภายในสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการ จัดตั้งเครือข่าย ในสถานศึกษา สนับสนุนให้ครูและบุคลากร ในสถานศึกษาเป็นสมาชิกสมาคม/ชมรมครูอาเซียน

2. แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 1) ผู้บริหารควรเชิญคณะกรรมการ จากทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 2) นำเรื่องอาเซียนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย จุดเน้นของโรงเรียน จัดทำแผนพัฒนาอาเซียนโดยบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) ผู้บริหารเป็นแกนนำในการสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการจัดตั้งเครือข่ายครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน 4) การนิเทศภายในสถานศึกษาจัดให้มีการนิเทศอย่างเป็นระบบ โดยจัดตั้งคณะกรรมการ และวางแผน การนิเทศในรูปแบบที่หลากหลาย 5) ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูเป็นสมาชิกสมาคม/ชมรมครูอาเซียนทุกคน 6) กำหนดให้มีการสรุปและรายงานผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ จัดให้มีคณะกรรมการติดตามประเมินผล พร้อมปรับระบบการประชาสัมพันธ์

 

INSTRUCTIONAL MANAGEMENT FOR ASEAN COMMUNITY OF PRASARTRATPRACHAKIT SCHOOL

The purposes of this research were to find 1) Instructional management for ASEAN community of Prasartratprachakit school under Secondary educational service area office 8 and 2) The guidelines on the process of Instructional management for ASEAN community of Prasartratprachakit school under Secondary educational service area office 8. The population were 4 school directors and 50 teachers in Prasartratprachakit school.The data was collected from 54 persons. The instrument for collecting the data was a questionnaire concerning the Instructional management for ASEAN community. The statistic used were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis and selected by puropive selection.

The findings revealed that :

1.The instructional management for ASEAN community of Prasartratprachakit school in overall was a moderate level. When concern in each aspect, the instructional management for ASEAN community of Prasartratprachakit school found that there were 3 aspects at a high level; development teachers plan, leaning activity exchange, and support material resources. While 6 aspects were at a moderate level; committee meeting, summary report and public relations, school supervision, committee appointment for establishing school network, and support the teacher and personnel to ASEAN association’s member.

2. The guidelines on the process of instructional management for ASEAN community of Prasartratprathakit school under secondary educational service area office 8. were as 1) The directors should invite the committee from stakeholder to participate in the management for ASEAN community. 2) Its should concern the ASEAN to be a part of school policy and integrate every group learning plan to be a development plan. 3) The directors should be a leader to establish the school network in community. 4) Its should establish system of school supervision. 5) Its should support the teacher and personnel to be a member of ASEAN community. 6) Its should determine a report and evaluation system committee and develop the public relations.

Article Details

บท
บทความวิจัย