ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับความเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2

Main Article Content

สุภาพร เหล่าทรัพย์เจริญ
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 2) ความเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 และ 3)ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับความเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวน 86 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน คือผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน รองผู้บริหารสถานศึกษาหรือหัวหน้าฝ่าย1 คน และครูผู้สอน2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น344 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของ เดรคและโรว์ (Drake and Roe)และความเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษาของทิดด์ เบสเซ็นท์ และพาวิทต์ (Tidd, Bessant and Pavitt) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะ ด้านความรู้ความคิด ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านการศึกษาและการสอน และทักษะด้านมโนภาพ

2. ความเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 โดย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การ สื่อสาร โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การฝึกอบรมและพัฒนา บุคลากรที่มีความ สำคัญ วิสัยทัศน์ร่วม การมีส่วนร่วมในนวัตกรรม ปัจจัยภายนอก และองค์การแห่งการเรียนรู้

3. ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับความเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต2มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

DIRECTOR’S ADMINISTRATIVE SKILLS AND INNOVATIVE ORGANIZATION IN KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

The purposes of this research were to find : 1) director’s administrative skillsin Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2 ,2) innovative organization of school in Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2, and 3) the relationship between director’s administrative skillsand innovative organization of school in Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2. The samples were 86 schools in Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2. The respondents in each school consisted of 4 persons :school director, deputy director and 2 teachers, with the total of 344.the instrument was a questionnaire regarding the administrative skill based on the theory of Drake and Roe and innovative organization based on the theory of Tidd, Bessant and Pavitt. The statisticalused were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The results were found that

1) director’s administrative skills in Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and individual were found at a high level; ranking from the highest to the lowest as follow : human skills, cognitive skills, technical skills, educational and instruction skills and conceptual skills.

2) innovative organization of schools in Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and individual were found at a high level; ranking from the highest to the lowest as follow : effective team working, communication, appropriate organization structure, creative climate, stretching training and development, key individual, shared vision, high involvement in innovation, external focus and the learning organization.

3) director’s administrative skillsand innovative organization of school inKanchanaburiPrimary Educational Service Area Office 2 was related with a statistically significant at .01 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย