ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สมถวิล ศิลปคนธรรพ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สำเริง อ่อนสัมพันธุ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, องค์การแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 86 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการหรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนรองผู้อำนวยการ ครูผู้สอนรวม 344 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารตามแนวคิดของ ฮอลลิงเจอร์ และเมอร์ฟี่ (Hallinger and Murphy) และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเซ็งเก้ (Senge) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

INSTRUCTIONAL LEADERSHIP OF ADMINISTRATORS AFFECTING LEARNING ORGANIZATION IN BASIC SCHOOL UNDER THE OFFICE OF SAMUTSAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA

The purposes of this research were to determine : 1) Instructional leadership of administrators in basic school under the office of Samutsakhon Primary Educational Service Area, 2) Learning organization in basic school under the office of Samutsakhon Primary Educational Service Area and 3) Instructional leadership of administrators affecting learning organization in basic school under the office of Samutsakhon Primary Educational Service Area. The samples were consisted of 86 schools in Samutsakhon Primary Education Service Area. The respondents composed of school directors, assistant directors and teachers, 344 totally. The instrument for collecting the data were a questionnaire about the Principal instructional leadership of administrators based on the theory of Hallinger and Murphy and Learning organization based on the theory of Senge. The statistic used for analysis the data were frequency the percentage arithmetic mean standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

1. Instructional leadership of administrators in basic school under the office of Samutsakhon Primary Educational Service Area in overall and individually, were found at a high level.

2. Learning organization in basic school under the office of Samutsakhon Primary Education Service Area in overall and individually, were found at a high level.

3. Instructional leadership of administrators affecting learning organization in basic school under the office of Samutsakhon Primary Educational Service Area at .05 level of significance.

Downloads