การบริหารกิจกรรมนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ ขำพลจิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สำเริง อ่อนสัมพันธุ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารกิจกรรมนักเรียนของโรงเรียนนายเรือ 2) คุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ 3) การบริหารกิจกรรมนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ และ 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารกิจกรรมนักเรียนและการส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำ จำนวน 24 คน บุคลากรสายสนับสนุน (นายทหารสัญญาบัตร) จำนวน 78 คนและนักเรียนนายเรือจำนวน 115 คน รวมทั้งสิ้น 217 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารกิจกรรมนักเรียนและคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. การบริหารกิจกรรมนักเรียนของโรงเรียนนายเรือโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง

2. คุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารกิจกรรมนักเรียนส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. แนวทางในการพัฒนาการบริหารกิจกรรมนักเรียน ได้แก่ ควรจัดหน่วยงานที่ดูแลงานกิจกรรมนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีการคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนและมีการทบทวนหลังปฏิบัติงานเสร็จ (AAR) สำหรับแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ ได้แก่ ควรมีการคัดสรรบุคคลต้นแบบ พัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ด้านกิจกรรมนักเรียน สามารถถ่ายทอดความรู้และพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือ จัดการประชุมของผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนนายเรือให้ดียิ่งขึ้น

 

STUDENT ACTIVITIES ADMINISTRATION AFFECTING CHARACTERISTIC OF THE NAVAL CADET

The purposes of this research were to find: 1) Student activities administration in the Royal Thai Naval Academy 2) Characteristic of the naval cadet 3) Student activities administration affecting characteristic of the naval cadet.and 4) The guidelines for student activities administration development and characteristic of the naval cadet enhancement. The samples were 24 instructors, 78 staff officers and 115 naval cadets, total of 217 by stratified random sampling. The instrument used in this research was the questionnaire on student activities administration and characteristic of the naval cadet. The statistics used were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, stepwise multiple regression analysis and content analysis.

The findings revealed as follows:

1. Student activities administration in the Royal Thai Naval Academy , as a whole and as individual aspect, were at a moderate level.

2. Characteristic of the naval cadet , as a whole and as individual aspect, were at a high level.

3. Student activities administration affecting characteristic of the naval cadet at .01 level of statistical significance.

4. The guidelines for student activities administration development are include setting up a student activities administration unit, selecting qualified personnel, engaging all personnel in planning and After Action Review (AAR). The guidelines for the characteristic of the naval cadet enhancement include selecting a role model, providing instructors with knowledge on student activities to develop the characteristic of the naval cadet, arranging PTA and stakeholder meeting to exchange ideas on how to develop the characteristic of the naval cadet.

Downloads