พฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ลักขณา ใจเที่ยงกุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สายสุดา เตียเจริญ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) พฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 2) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของครูในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 3) พฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 103 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและครูผู้สอน 2 คน รวมทั้งสิ้น 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของกลิคแมนและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ พฤติกรรมการนิเทศแบบไม่ชี้นำ พฤติกรรมการนิเทศแบบร่วมมือ พฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำโดยการควบคุม และพฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำโดยให้ข้อมูลข่าวสาร 2. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตาม ค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมแนะแนว 3. พฤติกรรมการนิเทศของผูบ้ ริหารสถานศึกษาดา้ นการนิเทศแบบรว่ มมือ ดา้ นพฤติกรรมการนิเทศแบบ ไมช่ ี้นำ ดา้ นพฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำโดยการควบคุมและด้านพฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำโดยให้ข้อมูลข่าวสารส่งผลต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

SUPERVISORY BEHAVIOR OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING STUDENT ACTIVITY PERFORMANCE IN SCHOOL UNDER SUPHANBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

The purpose of this research were to find: 1) Supervisory behavior of administrators in SuphanBuri Primary Educational Service Area Office 2, 2) The learner development activities of teachers in schools under SuphanBuri Primary Educational Service Area Office 2 and 3) Supervisory behavior of administrators affecting learner development activities of teachers in schools under SuphanBuri Primary Educational Service Area Office 2. The sample were the 103 schools under SuphanBuri Primary Educational Service Area Office 2. The respondents were 4 people in each schools which composed of administrators, deputy director of academic affairs, head of learners and teacher development activities committee, 412 in total. The instrument was the questionnaire concerning the administrator's supervisory behavior based on the Glickman concept and learner development activities based on Office of National Primary Education Comittee, Education core curriculum B.E. 2551. The statistical used for data analyzing were frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. The findings of this research were as follow : 1. Supervisory behavior of administrators in schools under SuphanBuri Primary Educational Service Area Office 2 as a whole and in each aspect, were at high level. When considering each aspect, four aspects were at high level: ranking from the highest to the lowest : non-directive supervisory behavior, collaborative supervisory behavior, directive supervisory behavior by controlling and directive supervisory behavior by information 2. Student activity performance in school under SuphanBuri Primary Educational Service Area Office 2 as a whole was at high level, ranking from the highest to the lowest: social responsibility and philanthropy, student activities and counseling activities. 3. Collaborative supervisory behavior, Non-directive supervisory behavior, directive supervisory behavior by controlling and directive supervisory behavior by information of the administrators affected learner development activities under SuphanBuri Primary Educational Service Area Office 2 in overall view significantly at the level of 0.01.

Downloads