การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

Main Article Content

ปราณี คาดการณ์ไกล
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การใช้อำนาจของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 3) การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 103โรงโดยมีผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา /รองผู้อำนวยการสถานศึกษาครู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา รวมจำนวน 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหาร ตามแนวคิดของยุคล์ (Yukl) และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ตามแนวคิดของ เฮิร์ซเบิร์ก (Herzberg) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การใช้อำนาจของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ อำนาจอ้างอิง อำนาจข้อมูลข่าวสาร อำนาจเชี่ยวชาญ อำนาจตามกฎหมาย อำนาจการให้รางวัล อำนาจการจัดการเชิงสถานการณ์ และอำนาจการบังคับ

2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ความมั่นคงในการทำงาน สถานภาพ สภาพการทำงานความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ นโยบายและการบริหารงาน ความสำเร็จในการทำงาน วิธีการปกครองของผู้บังคับบัญชาความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ความรับผิดชอบ ความเป็นอยู่ส่วนตัว การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ เงินเดือน

3. การใช้อำนาจของผู้บริหารด้านอำนาจอ้างอิง อำนาจข้อมูลข่าวสาร อำนาจเชี่ยวชาญ อำนาจตาม กฎหมาย อำนาจการให้รางวัล อำนาจการจัดการเชิงสถานการณ์ และอำนาจการบังคับ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE EXERCISIN


G OF ADMINISTRATORS’ POWER AFFECTING MOTIVATION IN TEACHERS’ PERFORMANCE UNDER SUPHAN BURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE

The purposes of this researches were to know ; 1) the exercising of administrators power under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, 2) the motivation in teacher’s performance under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, 3) the exercising of administrators power affecting motivation in teacher’s performance under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, The sample was 103 schools under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. The respondents were comprised of school administrators or vice administrators, teachers and a chairman of educational committees ; with the total of 309. The research instrument was questionnaire concerning the exercising of administrators power based on the concept of Yukl and motivation in teacher’s performance based on Herzberg’ s concept. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The findings of the research were as follows :

1. The exercising of administrators’ power under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and as an individual, were found at a high level: ranking from the highest to the lowest arithmetic mean : referent power, information power, expert power, legitimate power, reward power, situation engineering power and coercive power respectively.

2. The motivation of teacher’s performance under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and as an individual, were found at a high level: ranking from the highest to the lowest arithmetic mean : Possibility of Growth, Job Security, Status, Working Condition, Advancement, Company Policy and Administration, Achievement, Supervision Technical, Interpersonal Relation- Subordinate Peers Subordination, Responsibility, Personal Life, Recognition, Work Itself and Salary respectively.

3. The exercising of administrators power in referent power, information power, expert power, legitimate power, reward power, situation engineering power and coercive power affecting motivation in teacher’s performance under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, at a .01 level of significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย