สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
คำสำคัญ:
สมรรถนะของผู้บริหาร, การบริหารความขัดแย้ง, competency, conflict managementบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สมรรถนะของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) การบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 จำนวน 96 โรงเรียน กำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการแทน 1 คน และครูผู้สอน 2 คน รวมทั้งสิ้น 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหาร ตามหลักการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และการบริหารความขัดแย้ง ตาม แนวคิดของราฮิม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน(S.D) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation coeffcicent) ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ทั้งในภาพรวมและ รายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. การบริหารความขัดแย้ง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3. สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารความขัดแย้ง ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01THE ADMINISTRATOR’S COMPETENCY AND CONFLICT MANAGEMENT OF SCHOOL UNDER NAKHON PATHOM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
The purpose of this research were to determine 1) the administrator’s competency under Nakhornprathom Primary Education Service School Area Office 1 2) the school conflict management under Nakhornprathom Primary Education Service School Area Office 1 3) the relationship between the administrator competency and the School Conflict Management school in Nakhornprathom Primary Education Service School Area Office 1. The populations were 96 people of Municipality School in Local Education. There were 4 respondents from each school, consisted of a school administrator, an assistant administrator, and two teachers, totally 384 populations. The research instrument was a questionnaire concerning the administrator competency and the school conflict management in school according to the administrator competency method of the secretarial officer of the teacher’s council of Education and the school conflict management of Rahim. The statistics were frequency, percentage, the arithmetic mean, standard deviation, and Pearson's Product Moment Correlation. The results of the study were: 1. The administrator competency in Nakhornprathom Primary Education Service School Area Office 1 in overall and individually was found at the highest level 2. The school conflict management school in overall and individually was found at the high level. 3. The relationship between the administrator competency and the school conflict management in Nakhornprathom Primary Education Service School Area Office 1 was found at .01 level of statistical significance.