การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

ผู้แต่ง

  • ทินพันธ์ บุญธรรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นพดล เจนอักษร ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ (1) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (2) ประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และ (3) ความสัมพันธ์ของการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 30 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และครูคณิตศาสตร์ 2 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน การจัดการด้านการเรียน การสอน และการกำหนดภารกิจของโรงเรียน

2) ประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จ การทำให้กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพ การสร้างความชัดเจนในบทเรียน การแสดงความใส่ใจในการสอน และการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย

3) การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE ACADEMIC AFFAIRS ADMINISTRATION AND THE INSTRUCTIONAL EFFICIENCY OF MATHEMETICS TEACHERS IN SCHOOL SHORTAGE OF MATHEMATICS TEACHERS UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 9

The purposes of the research were to determine 1) the academic affairs administration in school shortage of mathematics teachers under secondary education service area office 9 2) the instructional efficiency of mathematics teachers in school shortage of mathematics teachers under secondary education service area office 9 and 3) the relationship between academic affairs administration and the instructional efficiency of mathematics teachers in school shortage of mathematics teachers under secondary education service area office 9. The sample uses in this research were 30 government’s secondary schools in school shortage of mathematics teachers under secondary education service area office 9. The 4 respondents in each school were an associate director of the academic department, a head of mathematics division, and 2 mathematics teachers, with total of 120. The statistical used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s product - moment correlation coefficient.

The findings of research revealed that:

1) The academic affairs administration in school shortage of mathematics teachers under secondary education service area office 9, as a whole and as an individual, were at a high level. In order arithmetic mean from maximum to minimum were as follows; the promoting school climate, the managing the instructional program and the defining the school mission.

2) The instructional efficiency of mathematics teachers in school shortage of mathematics teachers under secondary education service area office 9, as a whole and as an individual, were at a high level. In order arithmetic means from maximum to minimum were as follows; the student success rate, the engagement in the learning process, the lesson clarity, the teaching task orientation, and the instructional variety.

3) The academic affairs administration and the instructional efficiency of mathematics teachers in school shortage of mathematics teachers under secondary education service area office 9 were related at .01 level of significance.

Downloads