คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

Main Article Content

จีรภา แสงแก้ว
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 8 2) การดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 และ 3) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 8 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 48 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 6 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการที่รับผิดชอบงานแนะแนว/หัวหน้า วิชาการ หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หัวหน้างานแนะแนว ครูที่รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษา รวม 288 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารตามแนวคิดของดูบริน และ การดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษาตามแนวปฏิบัติของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ ด้านแรงจูงใจ ด้านบุคลิกภาพและด้านสติปัญญา

2) การดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมาก ไปน้อย คือ ด้านการ จัดกิจกรรมแนะแนว ด้านการให้บริการแนะแนว และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการบริหารการจัดการแนะแนว

3) คุณลักษณะของผู้บริหารด้านบุคลิกภาพและด้านสติปัญญาส่งผลต่อการดำเนินงานแนะแนว ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคุณลักษณะด้านสติปัญญาส่งผลต่อการ ดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวม คุณลักษณะดา้ นบุคลิกภาพและ ด้านสติปัญญาส่งผลต่อการดำเนินงานแนะแนว ในสถานศึกษาด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว คุณลักษณะด้านสติปัญญาส่งผลต่อ การดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษาด้านการให้บริการแนะแนว คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพและด้านสติปัญญาส่งผลต่อการ ดำเนินงานแนะแนว ในสถานศึกษาด้านการบริหารการจัดการแนะแนว

 

THE CHARACTERISTICS OF ADMINISTRATORS AFFECTING THE GUIDANCE PERFORMANCE IN SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8

The purposes of this research were to identify 1) the characteristics of administrators in schools under the Secondary Educational Service Area Office 8, 2) the guidance performance in schools under the Secondary Educational Service Area Office 8 and 3) the characteristics of administrators affecting the guidance performance in school under the Secondary Educational Service Area Office 8. The samples of research were 48 schools under the Secondary Educational Service Area Office 8. The 6 respondents in each school were a school administrator, an academic assistant /a head of school academic department, a head of the student development activity, a head of guidance committee, a teacher who monitored the student care system and an advisor with the total of 288. The instrument was a questionnaire concerning the characteristics of administrators based on Dubrin’concept and the guidance performance in school based on The Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The findings of this research were as follow:

1) The characteristics of administrators in schools under the Secondary Educational Service Area Office 8, as a whole and as an individual, were at a high level. In priority with arithmetic mean from maximum to minimum were motivation, personality traits, and cognitive factors.

2) The guidance performance in schools under the Secondary Educational Service Area Office 8, were found at a high level. When concern in each aspect, 2 aspect were at a high level. In priority with arithmetic mean from maximum to minimum were guidance activities, guidance service and 1 aspect was at medium level, guidance activities management.

3) The characteristics of administrators: personality traits and cognitive factors were affecting the guidance performance in school under the Secondary Educational Service Area office 8 at a .05 level of statistical significance. By the findings found that cognitive factors affecting the guidance performance in overall, personality traits and cognitive factors affecting the guidance performance in the aspect of guidance activities, and personality traits and cognitive factors affecting the guidance performance in the guidance management.

Article Details

บท
บทความวิจัย