ความคิดริเริ่มของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30

Main Article Content

เกียรติเกรียงไกร บุญทน
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความคิดริเริ่มของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 2) ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 3) ความคิดริเริ่มของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 จำนวน 34 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับความคิดริเริ่มของผู้บริหาร ตามแนวคิดของกิลฟอร์ด (Guilford) และผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของ ผู้บริหารโรงเรียน ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 (2) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (f-test) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความคิดริเริ่มของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปน้อย คือ การเปลี่ยนแปลง การสื่อความหมายด้านภาษา และสุดท้าย ความสามารถในการคิดแบบอเนกนัย

2. ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างความคิดริเริ่มของผู้บริหารและ ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 เมื่อจำแนกตามสถานภาพคุณลักษณะ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ในตำแหน่ง ขนาด โรงเรียน โดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดริเริ่มของผู้บริหาร ทั้งเพศชายและเพศหญิง ไม่แตกต่างกัน และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหาร โรงเรียน ทั้งเพศชายและเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่างกัน ระดับการ ศึกษาต่างกัน อายุราชการต่างกัน ประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกัน ขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดริเริ่ม ของผู้บริหารและผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนไม่แตกต่างกัน ในส่วนของตำแหน่งหน้าที่ ต่างกัน พบว่า ความคิดเห็น เกี่ยวกับความคิดริเริ่มของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน แต่ ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งพบว่า ครูผู้สอน / หัวหน้ากลุ่มงาน / หัวหน้ากลุ่ม สาระฯ กับ คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

3. ความคิดริเริ่มของผู้บริหารทุกด้าน ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 อย่างมีนัยสำคัญที่ .05

 

ORIGINALITY OF ADMINISTRATOR THAT AFFECTING STANDARDS OF SCHOOL ADMINISTRATOR’S PERFORMANCE UNDER JURISDICTION OF THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 30

The purpose of this research is to investigate 1) originality of school administrators under the Education Service Area office 30 2) standards of school administrator’s performance under jurisdiction of the Secondary Education Service Area Office 30 3) originality of administrator that affecting standards of school administrator’s performance under jurisdiction of the Secondary Education Service Area office 30. The samples were consisted of 34 government schools under the Secondary Education Service Area office 30. The total of the sample were 216 people. The questionnaires following the theory of Guilford were distributed to collect the information about originality of administrator and standards of school administrator’s through government teacher and education personnel council section 49 (2). The statistics that used to analyze are frequency, percentage, mean, t-test, f-test, and stepwise regression analysis.

The result found that:

1. Originality of school administrators under the Education Service Area office 30 were overall at the highest level by ordering from the highest to the lowest number of transformation, semantic, and divergent-production

2. Standards of school administrator’s performance under jurisdiction of the Secondary Education Service Area Office 30 were overall at the highest level by ordering from the highest to the lowest number of mean. Moreover, the comparative analysis of the school administrators’ initiative and standard performance under the Education Service Area office 30 were classified by gender, age, status, age, education level government positions, experience in the school by t-test and f-test. The result found that there was no difference in the initiative of the administrators both male and female. The opinion of the male and female administrators was different significantly at 0.05. There is no significant differences on the opinion of the participants who had different age, status, experience, and position in school. On the other hand, the opinion of the result of the school administrators’ standard performance from school director, school deputy director, teachers or chief of administration duties or head of the department, and school committee were different significantly at .05 on statistic.

3. Originality of school administrators that affecting standards of school administrator’s performance under jurisdiction of the Secondary Education Service Area Office 30 especially on the language communication skill and the development of performance on the academic activities focusing on the performance of staff in the school, students and community.

Article Details

บท
บทความวิจัย