ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล

ผู้แต่ง

  • อนุชิต บูรณพันธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการตามแนวคิดของ ฮอลลิงเจอร์ และเมอร์ฟี่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

               ผลการวิจัยพบว่า

               1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน   นวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 ด้าน อยู่ในระดับระดับมาก จำนวน 6 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 1 ด้าน

               2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

ภาษาไทย

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2561). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยา ภาวะบุตร. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(4), 56-70.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2565). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พิชญาภา ยืนยาว. (2562). ตำราภาวะผู้ทางการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: เฮา เคอร์มีสท์.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลัลณ์ลลิน พงษ์ศักดิ์ขจร. (2567). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเทพมงคลรังษี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารธรรมเพื่อชีวิต, 30(1), 232-253.

วัชรินทร์ ชาคำฤทธิ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนวัดอุดมรังสี (ป.ปีติวรรณอุปถัมภ์)[สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ศราวุธ ทองอากาศ. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 112-117.

สรเดช บุญประดิษฐ์. (2567). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดทรงธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 9(1), 38-46.

ภาษาอังกฤษ

Best, J. W. and Kahn, J. V. (2006). Research in Education. 10th ed. Boston Mass : Allyn and Bacon.

Hallinger, P. and Murphy, J. (1985). Assessing the Instructional Management Behavior of Principals. The Elementary School Journal, 86(2), 225-226.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McEwan, E. K. (1998). Seven Steps to Effective Instructional Leadership. California: Corwin Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/12/2024