การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3
คำสำคัญ:
มาตรฐานวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 2) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ โรงเรียนในกลุ่มกำแพงแสน 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 12 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) หัวหน้าฝ่ายบุคคล จำนวน 1 คน 3) ครูจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ตามลำดับ
- แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายกำแพงแสน 3 ประกอบด้วยหลายแนวทาง โดยจำแนกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ครูควรมีการพัฒนาตนเองโดยแบ่งเวลาในแต่ละวันเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม 2) ควรเปิดโอกาสให้ครูเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามเพื่อที่จะสามารถเรียนรู้และปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และ 3) ครูควรเข้าไปสร้างสัมพันธ์และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง
References
ภาษาไทย
กัญภร เอี่ยมพญา. (2561). การพัฒนาวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ 1. (น. 188). 21 เซนจูรี่.
กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2560). จิตสำนึกและจรรยาบรรณวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ 1. คอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย. 2. กรุงเทพฯ.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมารฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.
เจษฎา บุญมาโฮม. (2564). มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู จิตวิทยาสัมพันธภาพเชิงกระบวนทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐมฯ: สไมล์พริ้นติ้งแอนด์กราฟิกดีไซน์. 11-12.
พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 238.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน. ครุศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. 209-210.
วิรันทร์ดา เสือจอย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารสหวิทยาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1157-1171.
สลิลทิพย์ เกลี้ยงเกล. (2565). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7(2), 161-171.
สันติ บุญภิรมณ์. (2557). ความเป็นครู Self-Actualization for Teacher. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น. 134.
สาวิตรี เพ็ชรรัตน์. (2562). การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(31), 231-244.
สมหญิง จันทรุไทย. (2562). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของข้าราชการครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 64-75.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. (2564). รายงานการจัดการศึกษาประจำปี งบประมาณ 2564.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional Standards and Ethics). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พี.เอ. ลีฟวิ่ง. 5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.