ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ จำนวน 9 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 1 คน และ 3) ครู จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ การส่งเสริมการปฏิบัติงานให้ผู้อื่น การสร้างแรงบันดาลใจต่อวิสัยทัศน์ร่วม การสร้างขวัญกำลังใจ การเป็นต้นแบบนำทาง และความกล้าท้าทายต่อกระบวนการ
- แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนพัฒนาศรีประจันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ประกอบด้วยหลายแนวทาง ได้แก่ ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดี มีความรู้ สามารถให้คำแนะนำแก่ครูได้สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี เปิดรับฟังความคิดเห็น ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และเลือกแนวทางการดำเนินงานใหม่ ๆ ที่เหมาะสม พร้อมยอมรับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ส่งเสริมให้ครูมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และส่งเสริมครูในทุกด้านตามความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจ เสริมแรง และสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยการเผยแพร่ผลงาน และรางวัลของครูผ่านช่องทางต่าง ๆ ของโรงเรียน และร่วมแสดงความยินดีแก่ครูในโอกาสต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
References
ภาษาไทย
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และศุภชัย โพธิ์ศรี. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนสกล ชุม สินธุ์. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 7(2), 39.
พลศักดิ์ นุชประไพ และนลธวัช ยุทธวงศ์. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วารสารวิชาการนอร์เทิร์น, 10(1), 43-44.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, นครปฐม.
วันเพ็ญ ดาราวงศ์ และชัชชญา พีระธรณิศร. (2566). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(1), 142.
ศรีรุ้ง ศรีสุวรรณ และวรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, 6(4), 50.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2566). การสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2565. กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา, สุพรรณบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พ.ศ. 2566 - 2570). กลุ่มนโยบายและแผน, สุพรรณบุรี.
โอภาส แซ่อุ้ย และคณะ (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มพัฒนาการศึกษาที่ 8 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(8), 1185-1186.
ภาษาอังกฤษ
Best, John W. (1983). Research in Education. 4th ed. Englewood Cliffs: prentice – Hill.
Christopher, Francisco DC. (2019). “School principal’s transformational leadership styles and their effects on teacher’s self-efficacy.” International journal of advanced research (IJAR) 7(10), 622-635.
Iskandar Saputra, Riswanti Rini, and Hasan Hariri. (2022). “Principal’s Transformational Leadership in Education Era 4.0.” International Journal of Current Science Research and Review 5(8), 2852-2860.
James, Kouzes M., and Barry Z. Posner. (2012). The leadership challenge: how to make extraordinary things happen in organizations. 5th ed. California: Jossey-Bass.
Lunenburg, Fred C., and Allan C. Ornstein. (2022). Educational Administration: Concepts and Practices. 7th ed. California: SAGE Publications.
Rensis, Likert. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – HillBook Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.