ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประชากร คือ ข้าราชการครู จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแสดงความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบรรทัดฐาน ด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่อง
- ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่อง และด้านบรรทัดฐาน พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน
References
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2566. www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu1.pdf.
ชนิษฐคมน์ แพทย์รัตนกุล. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันองค์การของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารรัฐกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].
ชัยวัฒน์ พนมวรชัย. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนเครือข่ายมูลนิธิลาซาล [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ].
ดวงกมล อนุเอกจิตร. (2562 กรกฎาคม-ธันวาคม). การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2). 533-564.
ธีรพงษ์ บุญรักษา. (ม.ป.ป.). การปฏิบัติตัวของผู้นำที่มีผลต่อการสร้างความผูกพันในองค์กรของบุคลากร. เข้าถึงได้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566. D4 Consultant. http://www.d4.co.th/artiele.htm
นัฐกรณ์ หะธรรมวงค์. (2566, มกราคม-เมษายน). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1). 521-539.
วันวิสา ยุระชัย. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนชลประทานวิทยา จังหวัดนนทบุรี [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหา, วิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].
โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3. (2566, เมษายน, 20). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม (พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.
สุชาพร ประเสริฐชาติ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา].
ภาษาอังกฤษ
Best, John W. (1981). Research in Education. 4th ed. Englewood cliffs: Prentice Hall.
Jason A. Colquitt, Jeffery A. LePine and Michael J. Wesson. (2021). Organizational Behavior: Improving Performance and Commitment in the Workplace. 7th ed. (New York: McGraw-Hill.
Rensis Likert. (1967). The Human Organization. New York, NY: McGraw- Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.