หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
คำสำคัญ:
หลักธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากร คือ โรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา จำนวน 14 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ข้าราชการครู จำนวน 1 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เป็นบุคคลภายนอก จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 42 คน โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 6 ด้าน ดังนี้ หลักความเสมอภาค หลักคุณธรรมและจริยธรรม หลักนิติธรรม หลักภาระรับผิดชอบ และตรวจสอบได้ หลักความเปิดเผยและโปร่งใส และหลักการกระจายอำนาจ และอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ด้าน ดังนี้ หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ หลักการมีส่วนร่วมและการพยายามแสวงหาฉันทามติ และหลักการตอบสนอง ตามลำดับ
2) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีทั้งหมด 16 แนวทาง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักประสิทธิภาพ ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการตอบสนอง ด้านหลักภาระรับผิดชอบและตรวจสอบได้ ด้านหลักความเปิดเผยและโปร่งใสด้านหลักการมีส่วนร่วม และการพยายามแสวงหาฉันทามติด้านหลักการกระจายอำนาจ และด้านหลักคุณธรรมและจริยธรรม
References
ภาษาไทย
กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2).
กฤตยากร ลดาวัลย์. (2567). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์, 4(1).
ครองทิพย์ ดิลกโสภณ. (2566). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 7(2).
จิรวรรณ มีภูมิ และเชาวนี แก้วมโน. (2565, พฤษภาคม 12). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ตรัง.
จีรนาถ ภูริเศวตกำจร. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 The 7th National Conference Nakhonrachasima College. ครั้งที่ 7. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, นครราชสีมา.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2561). หลักธรรมาภิบาล : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย. สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ.
ทิวากร แก้วมณี. (2559). ธรรมาภิบาล. สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์, กรุงเทพฯ.
นลัทพร สอนคุ้ม. (2567). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่ม โรงเรียนแม่กุ-มหาวัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2.วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 9(1).
นิตยา คงเกษม. (2563). แนวทางการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่ม เครือข่ายพระบางเจ้าพระยา เมือง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. บัณฑิตปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(3).
ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ.
พงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(2).
พัสชรินทร์ ทิพย์จันทร์. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านใหม่. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(2).
พินิจนันท์ ชลเทพ. (2023). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. Journal of Integration Social Sciences and Development, 3(1).
รุ่งทิวา กมล. (2563). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายที่ 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3).
รุ่งณภา สุภาพรม. (2566). สภาพและแนวทางการพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3, ศรีสะเกษ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance). สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, กรุงเทพฯ.
อภิชาติ จุลพันธ์. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และ เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร มนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(1).
อภิเชษฐ์ อยู่เทศ. (2566). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2).
อัญชลี โลเชียงสาย. (2567). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยาการ, 9(1).
ภาษาอังกฤษ
Fred C. Lunenburg and Allan C. Ornstein. (2022). Educational Administration: Concepts and Practices. 7th ed. California: SAGE Publications.
John W. Best. (1983). Research in Education. 4th ed. Engleoodcliffs : rentice – Hill.
Lee J. Cronbach (1974). Essentials of Psychological Testing, 3nd ed. New York: Harper and Row Publisher.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.