แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท คำธารา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรกาญจน์ สุขสดเขียว ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

งานบริหารทั่วไป

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม และ 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมประชากร คือ บุคลากรของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม จำนวนทั้งสิ้น 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา การดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดการระบบควบคุมภายในหน่วยงาน ด้านการดำเนินงานธุรการ การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ และ การส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
  2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ประกอบด้วย 10 แนวทางคือ 1) มีการประชุมหารือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ อยู่เสมอ 2) เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน และร่วมแก้ไขปัญหา 3) มีการวางแผนการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ และกำหนดจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน 4) มีการติดตามและประเมินผลการทำงานในด้านการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ 5) ดำเนินการจัดระบบการบริหารให้เป็นไปตามโครงสร้างหรือขอบข่ายงานขององค์กร และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถ 6) นำวงจรเดมมิ่ง (PDCA) เข้ามาใช้ในการดำเนินงานต่างๆ 7) สร้างกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และผลงานของสถานศึกษาในหลากหลายรูปแบบ 8) จัดหาเจ้าหน้าที่ธุรการให้เหมาะสมกับจำนวนงาน 9) จัดหาฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานด้านธุรการได้ตามระบบที่กำหนดไว้ 10) ปรับปรุงและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความทันสมัยอยู่

References

ภาษาไทย

กฤติน พันธุระ. (2558), การพัฒนาคุณภาพงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนวังเหนือวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เฉลา พวงมาลัย. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่4 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 อำเภอปากท่อ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ฉัตรชัย ตันตรานนท์. (2562), แนวทางการพัฒนางานบริหารทั่วไปโรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560 เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134, ตอนที่ 40 ก.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (2542 สิงหาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก: 4.

สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2562. สำนักพิมพ์แม็ทช์พอยท์. กรุงเทพฯ. 92-93.

อนุเดช บ้านสระ. แนวทางการบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.

ภาษาอังกฤษ

Rensis Likert. (1961). New Pattern of Management (New York: McGraw – Hill Book Company), 74.

John W. Best, Research in Education, 4th ed. (1983). Englewood cliffs : Prentice Hall, Inc., 1983, 190.

Rovinelli, R.J. and Hambleton. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity,1976. [Online], accessed 19/Sep/2021 Available form https://files.eric.ed.gov/fultlext/ED121845.pdf.

Lee J. Cronbach. (1974). Essentials of Psychological Testing (New York: Harper & Row Publisher), 161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/12/2024