การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี และ 2) แนวทางส่งเสริมการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี ประชากร คือ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษาสถานศึกษา และบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี จำนวนทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ การประเมินความสามารถพื้นฐาน การประเมินความก้าวหน้า การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาและการส่งต่อ และการเก็บรวบรวมข้อมูล
- แนวทางส่งเสริมการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย 7 ด้าน 15 แนวทาง คือ 1) ด้านการรวบรวมข้อมูล มีสี่แนวทาง คือ (1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงความจําเป็นในการซักประวัติ และรวบรวมหลักฐานเพื่อแก้ปัญหาผู้ปกครองไม่ให้ข้อมูล (2) ควรมีการจัดเก็บเอกสารเป็นหมวดหมู่ และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นหาที่สะดวกและรวดเร็ว (3) ควรมีการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมเพื่อจะได้วางแผนการให้บริการได้เหมาะสมที่สุด (4) ควรมีการจัดสรรบุคลากร และงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาการให้บริการที่ไม่ครอบคลุมและมีคุณภาพ 2) ด้านการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา มีสองแนวทาง คือ (5) ควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูสามารถคัดกรองนักเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (6) ควรมีแบบคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาที่มีมาตรฐานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด 3) ด้านการประเมินความสามารถพื้นฐาน มีสองแนวทาง คือ (7) ควรมีการประเมิน ความสามารถพื้นฐานที่ตรงกับสภาพจริงและเทียบเกณฑ์กับพัฒนาการเด็กทั่วไป (8) ควรมีการจัดทำคู่มือการประเมินความสามารถพื้นฐานที่ระบุวิธีการและสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการประเมินอย่างชัดเจนและใช้เหมือนกันทั่วประเทศ 4) ด้านการการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล มีสามแนวทาง คือ (9) ควรจัดทำแผน IEP. ให้กับเด็กทุกคน (10) ควรจัดอบรมครูสม่ำเสมอให้มีทักษะในการจัดทำแผน IEP. และนําไปสู่การ ปฏิบัติโดยแผน IIP. (11) ควรให้ผู้ปกครองมาร่วมประชุมด้วยไม่ใช่ครูเขียนขึ้นมาแล้วให้ ผู้ปกครองลงนามเท่านั้น 5) ด้านการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม มีสองแนวทาง คือ (12) ควรมีการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรเพิ่ม (13) ควรให้บริการตามแผน IEP, และ IIP. ที่ได้กำหนดไว้ ไม่ใช่ให้บริการตามความต้องการของครู 6) ด้านการประเมินความก้าวหน้า มีหนึ่งแนวทาง คือ (14) ควรมีการจัดประชุมเพื่อสรุปความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคน ตลอดจนมีการรายงานความก้าวหน้าโดยมี พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผล และการตัดสินใจในการปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสม อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง 7) ด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ มีหนึ่งแนวทาง คือ (15) ควรมีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ก่อนการส่งต่อ และหลังการส่งต่อทางการศึกษาส่งผลต่อความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคนก่อนส่งไปในสถานศึกษาปลายทางทั้งนี้ให้คำนึงถึงความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล และความสะดวกของผู้พิการเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการศึกษา และการฟื้นฟูศักยภาพอย่างเต็มที่
References
ภาษาไทย
จันธิรา เตจ๊ะจักร. (2552). การดําเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กออทิสติก ของสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ [วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
บุญสิตา วงศรี. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงานการให้บริการ ช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม., มหาวิทยาลัยพะเยา].
ธัญญารัตน์ เมืองอินทร์. (2558). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา การดําเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของศูนย์ การศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามทัศนะของครูการศึกษาพิเศษ [วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา].
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. ก (2542 สิงหาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 หน้า 4.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551). สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานครฯ.
ญาณิศา เทียนงูเหลือม. (2556) “การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของครูในศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง” [วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา].
ยิ่งพร เจียตระกูล. (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกระบี่ [วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระราชูปถัมภ์].
สุรัญจิต วรรณนวล.(2549) การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด [วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].
ภาษาอังกฤษ
Lee J. Cronbach. (1974). Essentials of Psychological Testing, 3rd ed. (New York : Harper & Row Publishers,161.
Rensis Likert. (1961). New Pattern of Management (New York: McGraw – Hill Book Company), 74.
John W. Best. (1983). Research in Education, 4th ed. (Englewood cliffs : Prentice Hall, Inc., 190).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.