การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนบ้านคลองวาฬ
คำสำคัญ:
การทำงานเป็นทีมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนบ้านคลองวาฬ 2) แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนบ้านคลองวาฬ ประชากร คือ บุคลากรของโรงเรียนบ้านคลองวาฬจำนวน 18 คน (ไม่รวมผู้วิจัย) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 1 คน ข้าราชการครูจำนวน 13 คน พนักงานราชการครูจำนวน 1 คน และครูอัตราจ้าง จำนวน 3 คน ทั้งนี้ โดยใช้ประชากรเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนบ้านคลองวาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 9 ด้าน โดยเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านภาวะผู้นําที่เหมาะสม ด้านการติดต่อสื่อสารที่ดี ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ด้านการตรวจสอบทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่ม ด้านบทบาทต่าง ๆ ที่สมดุล ด้านการสนับสนุนและไว้วางใจกัน และด้านกระบวนการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม และพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการเปิดเผยและการเผชิญหน้า
- แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนบ้านคลองวาฬ เป็นพหุแนวทาง โดยมี 9 ด้าน อยู่ในระดับมากซึ่งเป็นแนวทางในการส่งเสริม มีทั้งหมด 153 แนวทาง และมี 2 ด้านที่าอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนามีทั้งหมด 33 แนวทาง
References
ภาษาไทย
เปรมชัย ปิยะศิลป์. (2565). เรื่อง การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย] มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
เปรมฤดี บุญยืน. (2558). การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 [งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา]. 110-111.
พุทธพงศ์ หลักคํา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].
พลอยอัมพัน มาพิจาร. (2559). การทำงานเป็นทีมของกลุ่มโรงเรียนสุวรรณสาธุกิจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ง.
โรงเรียนบ้านคลองวาฬ. (ม.ป.ป.). แผนเผชิญเหตุสถานการณ์โควิด – 19 ของโรงเรียนบ้านคลองวาฬ. หน้า 14.
ภาษาอังกฤษ
Gary Yukl. (2013). Leadership in Organization (Essex: Pearson Education Limited). 253 -259.
John W. Best and James V. Kahn. (2006). Research in Education. 10th ed. Massachusetts: Pearson Education Inc.
Mike Woodcock. (1989). “Team Development Manual”, 2nd ed. Great Britain: GowerPublishing Co.
Michael Mumford. (2012). “Handbook of Organizational Creativity”. Academic Press.
Mohamad Johdi Salleh, Bakare Kazeem Kayode. (2014). "An analysis of teachers’ perceptions towards teamwork," ASIAN JOURNAL OF MANAGEMENT RESEARCH Online Open Access publishing platform for Management Research Volume 4 Issue 3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.