การประเมินโครงการ : โครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด

Main Article Content

อาชิรญาดา โชคประกอบบุญ
สงวน อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลการประเมินโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด ทั้งสิ้น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบริบท (Context evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) 4) ด้านผลผลิต (Product evaluation) ประชากร คือ บุคลากรโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ครู 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน และนักเรียน 76 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


การประเมินโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดบ่อน้ำจืด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านบริบท และอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มูลนิธิชัยพัฒนา. เศรษฐกิจพอเพียง. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiencyeconomy.html.

Danial L. Stufflebeam and Anthony J. Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models, & Applications. London, England: Jossey-Bas.

John W. Best and James V. Kahn. (2006). Research in Education. 10th ed. Massachusetts: Pearson Education Inc.

Rensis Likert, (1961). The Human Organization. New York: McGraw - Hill.