การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนบ้านท่ามะกา

ผู้แต่ง

  • พรจันทร์ แจ้งบุตร โรงเรียนบ้านท่ามะกา
  • สงวน อินทร์รักษ์

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนบ้านท่ามะกา 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนบ้านท่ามะกา ประชากร คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านท่ามะกา จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง      สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา 

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนบ้านท่ามะกาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักคุณธรรม/จริยธรรม หลักความเสมอภาค หลักประสิทธิภาพ หลักการกระจายอำนาจ หลักการตอบสนอง หลักประสิทธิผล หลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ หลักเปิดเผย/โปร่งใส หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ ตามลำดับ

2.แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนบ้านท่ามะกา เป็นพหุแนวทาง โดยกำหนดให้ข้อที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตน้อยที่สุดในแต่ละด้านมาเป็นประเด็นเพื่อหาแนวทางพัฒนา จำนวน 10 ด้าน มีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 20 แนวทาง

References

ณัฏฐชัย ช่อมเซียง. (2566). “การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลสากลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโนนสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1”. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 3(2): 147.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2558). "ธรรมาภิบาล: กลไกสำคัญในการปฏิรูปเพื่อพัฒนาประเทศ". ใน ดุลยอำนาจในการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทัศนีย์ วิวัฒน์ชานนท์. (2563). "การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา". วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร 11(1): 1.

นำชัย ราตรีโชติ. (2564). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิตยา สุดยอด. (2565). “การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4”. Journal of Roi Kaensarn Academi 7(1): 187-188.

ปริญญา ยกพล. (2563). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับความพึงพอใจของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 2.

พงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2564). “การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ”. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 21(2): 12-13.

พระลัง ชวโน. (2565). “การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผูบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2”. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ 8(1): 17.

พัสชรินทร ทิพย์จันทร์. (2564). "การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านใหม่". วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร 12(2): 1.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 17.

สมยศ สุวรรณชัย. (2566). “แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2”. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ 7(2): 280.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุรัสวดี คุ้มสุพรรณ. (2564). “การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3”. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต 17(3): 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2024