แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร)
คำสำคัญ:
สมรรถนะของครู, โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร)บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สมรรถนะของครูโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) ประชากร คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของครูตามแนวคิดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. สมรรถนะของครูโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู อยู่ในระดับมากที่สุด
2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) ควรดำเนินการ ดังนี้
1) ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองและเข้าร่วมการชุมนุมทางวิชาการ 2) ส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการออกแบบงานของตนเองและอบรมสร้างความเข้าใจให้ครูได้รู้ขอบข่ายบทบาทหน้าที่ของงาน 3) จัดกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์ให้ครูเกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 4) กระตุ้นให้ครูดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดทำวิจัยอย่างเป็นระบบ 5) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรและมีการประเมินเป็นระยะ และ 6) ส่งเสริมให้ครูมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
References
ขนิษฐา ปานผา. (2558). “สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครูตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้างและคณะ. (2563). “แนวทางพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐม.” วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 17(2): 65-75.
นิทัศน์ หามนตรี. (2558). “การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.” วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 10(2): 177-185.
เนตรนภา ฝัดค้า. (2561). “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2.” วารสารสังคมศาสตร์วิจัย 9(2): 66-84.
บังอร แปน้อย. (2564). “แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.” วารสารสารสนเทศ 20(2): 2.
ประกอบและกาญจนา คุณารักษ์. (2563). อนาคตภาพการศึกษาไทยยุค 4.0. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ. (2565). รายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครปฐม: โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ.
________. (2566). “รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ระดับการศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565. นครปฐม: โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ.
วารุณี ผลเพิ่มพูล. (2556). “การศึกษาสมรรถนะของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3.” วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี 2(2): 62-73.
วิไลวรรณ มาลัย. (2562). “สมรรถนะหลักตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3.” วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ 7(2): 109-118.
ศักดิ์พันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สานิตา แดนโพธิ์. (2562). “สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์).” วารสารการบริหาร การศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร 10(1): 703-714.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุธี บูรณะแพทย์. (2557). “สมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุเมธ งามกนก. (2557). “การศึกษาคุณภาพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะนวันออก.” วารสานศึกษาศาสตร์ 25(3): 75-86.
สุภาพรรณ ธะยะธง. (2562). “การศึกษาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา.
Best, John W. (1983). Research in Education. 4th ed. Englewood cliffs : Prentice Hall, Inc.
Henny Oktarina, Muhammad Kristiawan and Alfroki Martha.(2021). “Teacher Competency Development In The Digital Era.” Jurnal Pendidikan Tambusai 5(2): 5149-5155.
Mardia Hi. Rahman. (2014). “Professional Competence, Pedagogical Competence and the Performance of Junior High School of Science Teachers.” Journal of Education and Practice 5(9): 75-79.
Norfarahin Bt. Mohd Zamri and Mohd Isa B. Hamzah. (2019). “Teachers’ Competency in Implementation of Classroom Assessment in Learning.” Creative Education 10: 2939-2946.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.