การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม

ผู้แต่ง

  • ณรงค์วิทย์ ศักดิ์ทิพยรัตน์ -
  • นพดล เจนอักษร ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม 2) แนวทางการในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูโรงเรียนวัดห้วยจระเข้วิทยาคม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม 2) แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า

  1. การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านการประเมินผลการดำเนินงานบุคคล ด้านการบริหารงานทะเบียนและสถิติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับ
  2. แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานบุคคล เป็นพหุแนวทาง โดยมีแนวทางในการส่งเสริมทั้งหมด 31 ข้อ 83 แนวทาง และมีแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 4 ข้อ 11 แนวทาง

References

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจทางการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (2550, 16 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก. หน้า 29-35.

เตือนใจ คล้ายแก้ว. (2559). “แนวทางการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัด พิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทะนงศักดิ์ เผือกคล้าย. (2564). “ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร.” วารสาร บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 18 (82): 106-110.

นราดล ยตะโคตร. (2565). “ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2565). “การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8.” วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร 5 (1): 133-146.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. หน้า 1-22.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. (2551, 23 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนที่ 79 หน้า 22.

โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม. นครปฐม:โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม.

ศรัญญา แสงสว่าง. (2564). “แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กลุ่ม 6 กรุงเทพมหานคร.” Journal of Roi Kaensarn Academi 6 (12): 152.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป) มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง พ.ศ. 2562). 44-48

อำนาจ ชื่นบาน. (2564) “การดำเนินงานบุคคลของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี.” การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Aja-Okorie U. (2016) “Teachers Personnel Management as Determinant of Teachers Productivity in Secondary Schools in Delta State, Nigeria.” British Journal of Education 4 (8): 13-23.

Best, J.W. (2006). Research in Education. 10th ed. Massachusetts: Pearson Education Inc.

Jana Marie Šafránková. (2018) “Responsibilities and Competencies in Personnel Management at Czech Schools.” Oeconomia copernicana 9 (3): 529-534.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023