การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี

Main Article Content

ดุษิต สว่างศรี
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ได้แก่ ฝ่ายบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครู จำนวนทั้งสิ้น 108 คน ทั้งนี้ไม่รวมผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ตามคู่มือการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


          1. การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง/เหตุการณ์ความเสี่ยง การรายงานและติดตามผล การกำหนดวัตถุประสงค์ และการประเมินความเสี่ยง ตามลำดับ


          2. แนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) สถานศึกษาควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงที่มีความชัดเจน และควรแจ้งวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงให้บุคลากรทุกคนได้ทราบและเข้าใจตรงกัน 2) สถานศึกษาควรวิเคราะห์ความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 3) สถานศึกษาควรจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงให้มีความชัดเจน และดำเนินการจัดการความเสี่ยงตามระดับความรุนแรงจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 4) สถานศึกษาควรกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงที่มีความชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ และควรชี้แจงมาตรการให้บุคลากรทุกคนได้ทราบและปฏิบัติ และ 5) สถานศึกษาควรติดตามผล ประเมินผล และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

นันทนิตย์ ท่าโพธิ์. (2556). “การศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปราโมทย์ เอมมา. (2559). “การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี.” การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพรรณ งามโรจน์. (2560). “แนวทางการจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พอรุ้ง แสงนวล. (2563). “การบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาคภูมิ ฤกขะเมธ. (2562). แนวโน้มและทิศทางของการออกแบบนโยบายภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และความท้าทายใหม่. ใน พลิกภาครัฐสู่การบริหารจัดการยุคใหม่, 1-27. โสภารัตน์ จารุสมบัติ (บรรณาธิการ), ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โรงเรียนอู่ทอง. (2563). รายงานการติดตามการประเมินผลการควบคุมภายใน. สุพรรณบุรี: โรงเรียนอู่ทอง.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. ม.ป.ท.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (30 ตุลาคม 2564). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพในยุค Digital Disruption. เข้าถึงได้จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/article/36379/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์ จำกัด.

สุภลัคน์ จงรักษ์. (2562). “การบริหารความเสี่ยง : เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม.” วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ 21(1): 155-164.

ภาษาต่างประเทศ

Best, J. W. (1981). Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement 30(3): 607-610.