แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ

Main Article Content

ณัฐพงษ์ เจริญฉาย
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนอนุบาลวัด    ลูกแกประชาชนูทิศ และ 2) แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ ประชากร คือ บุคลากรของโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ จำนวนทั้งสิ้น 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


            1. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ ทั้งโดยภาพรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ การตรวจสอบข้อมูล การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ การรวบรวมข้อมูล และ การประมวลผลข้อมูล


            2. แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ ประกอบด้วย 5 ด้าน 15 แนวทาง คือ 1) การรวบรวมข้อมูล มีสามแนวทาง คือ (1) กำหนดจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน (2) ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีความรู้ความสามารถ และ (3) บุคลากรในโรงเรียนให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล 2) การตรวจสอบข้อมูล มีสองแนวทาง คือ (4) ตรวจสอบความสอดคล้องกันระหว่างข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่ (5) ผู้ตรวจสอบต้องมีความรู้เฉพาะทางในการตรวจสอบข้อมูล 3) การประมวลผลข้อมูล มีสามแนวทาง คือ (6) กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล (7) กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการประมวลผลข้อมูล    (8) พัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยในการประมวลผลข้อมูล 4) การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ มีสี่แนวทาง คือ (9) นำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาบุคลากร (10) ใช้ประสานกับหน่วยงานอื่น (11) นำข้อมูลและสารสนเทศมาแสดงในรูปแบบของ Dashboard ด้วย Google Data Studio และ (12) นำมาประกอบในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย และ 5) การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ มีสามแนวทาง คือ (13) จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในรูปแบบที่เหมาะสมกับข้อมูลและสารสนเทศ (14) สำรองข้อมูลและสารสนเทศเพื่อป้องกันความเสียหาย และ (15) มีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลและสารสนเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2557). ระบบสารสนเทศการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

พูลศักดิ์ สุฎีคำ. (2558). “ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียนประถมศึกษาของสหวิทยาเขตบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.” งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.

วิมลรัตน์ วิเชียรรัตน์. (2556). “การศึกษาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศิรินภา แก้วกำมา. (2557). “ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศ ในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสีคิ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.” งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. นโยบาย ICT เพื่อการศึกษา.เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จากhttps://dictionary. sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/ข้อมูล.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพ : สำนักงานนายกรัฐมนตรี.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การจัดระบบ บริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สิริชัย ดีเลิศ. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กองทุนวิจัยและสร้างสรรค์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัมรา กัลปะ. (2561). การจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา”.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, J. W. (1981). Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Cronbach, Lee. (1978). Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York Herper & Row Publishers.

Likert, Rensis. (1963). The Human Organization. New Yok: McGraw–Hill.