การดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนในสำนักงานเขตตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศิริขวัญ โกญจนันท์
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนในสำนักงานเขตตลิ่งชัน  สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนในสำนักงานเขตตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนในสำนักงานเขตตลิ่งชันสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูล 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน ตามคู่มือแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนในสำนักงานเขตตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ที่ระดับมากที่สุด 2 ด้าน ระดับมาก
    2 ด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ วางแผนและกำหนดทางเลือก ประเมินผลและรายงานผล ปฏิบัติการนิเทศ ตามลำดับ

  2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนในสำนักงานเขตตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1) กำหนดแนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในที่ชัดเจน 2) ส่งเสริมให้ครูทุกคนในโรงเรียนมีความรู้เรื่อง การดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนอย่างถูกต้อง และ 3) สนับสนุนให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง

กฤตนัย เจริญสุข และจุไรรัตน์ สุดรุ่ง, (2562) “การศึกษาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนขยาย

โอกาสที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับดีมาก สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร,” วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 14, 2 (กรกฎาคม)

พิชญ์พิริยะ กรุณา, (2563) “แนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของ

โรงเรียนสำนักงานเขตมีนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร,” วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 15, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)

ลาวัลย์ สอดศรี และปัญญา อัครพุทธพงศ์,(2559) “การศึกษาสภาพการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา (ไทย-จีน) ในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร,”วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 11, 3 (กรกฎาคม)

สิทธิพล อาจอินทร์, (2563) ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, (ขอนแก่น:

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11, (2564) “คู่มือนิเทศภายใน”, เข้าถึงเมื่อ 15

กุมภาพันธ์ 2564 เข้าถึงได้จากhttps://sites.google.com/secondary11.go.th/ supervisor.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร,(2560) คู่มือแนวทางการบริหารจัดการ

คุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)

Agih A. Allen.(2015) “Effective School Management and Supervision: Imperative for Quality Education Service Delivery.” An International Multidisciplinary Journal 9, 3 (July)

Best John W., (1977) Research in Education. 3rd ed. (New Jersey: prenticeHall),

Emmanuel O. Adu, Gbadegesin M. Akinloye, and Olabisi F. Olaoye, (2014) “Internal

and External School Supervision: Issues, Challenges and Wayforward,” International Journal of Educational Sciences 7, 2

Rensis Likert, (1967)“The Method of Constructing and Attitude Scale,” Readings in

Attitude Theory and Measurement, ed. Martin Fishbein, (New York: John Wiley & Sons)