การประเมินโครงการ : โครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ)

Main Article Content

ไอลดา แถวโพธิ์
สงวน อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) ด้านบริบท 2) ประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ)ด้านกระบวนการ 4) ประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ)ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ) ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ครู 24 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 คน และนักเรียน 231 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


          1. การประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านบริบท ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต


          2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) ควรดำเนินการดังนี้ 1) ด้านบริบท โรงเรียนควรมีการวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนและชุมชน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถในการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในทุกๆด้าน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการมีการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับความรู้และความสามารถที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านกระบวนการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการมีการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับความรู้และความสามารถที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านผลผลิต โรงเรียนควรจัดกิจกรรมโครงการที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ
ปฏิบัติ...กว่า 1 ทศวรรษ (กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์, 2555), หน้า 7.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, การวางแผนการเงินด้วยศาสตร์ของพระราชา, กรุงเทพ: พริ้นซิตี้, 2561,
หน้า 9.
ภาษาอังกฤษ
Danial L. Stufflebeam and Anthony J. Shinkfield, Evaluation Theory, Models, & Applications,
(London, England: Jossey-Bas, 2007), 334-336.
Rensis Likert, New Pattern of Management (New York: McGraw – Hill Book Company, 1961),
74.
John W. Best, Research in Education, 4th ed. (Englewood cliffs : Prentice Hall, Inc., 1983), 190.