คุณภาพชีวิตบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

ผู้แต่ง

  • เขมินท์ อุ่นศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรกาญจน์ สุขสดเขียว ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตบุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) คุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 9 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 9 ประชากร คือ บุคลากรของโรงเรียนราชินีบูรณะ จำนวน 161 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 4 คน และครูจำนวน 156 คน (ไม่รวมผู้วิจัย) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น (opinionaire) เพื่อการวิจัย เรื่อง คุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structural interview) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (frequency: f) ค่าร้อยละ (percentage: %) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic: μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard divisions: σ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 9 อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นมนุษย์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านสภาพทั่วไป
  2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ บุคลากรโรงเรียนราชินีบูรณะได้เสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนี้ การแก้ปัญหาสภาพอากาศภายโรงเรียน การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ภายในโรงเรียน การรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร ค่าตอบแทนพิเศษ  การพัฒนาวิชาชีพครู  การพิจารณาการรับย้าย  หรือการบรรจุแต่งตั้ง ประวัติการทำงาน ความตั้งใจในการทำงาน การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน

 

References

ภาษาไทย
เกศินี สันจะโป๊ะ, ปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์
การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560.
ชญาดา ร่วมโพธิ์รี และ มลฤดี วัฒนอังกูร, ปัจจัยการดำรงชีวิตของครูที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาขั้น
พื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี, วารสารสังคมศาสตร์ 5, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559): 102-112.
ชยพร ผ่องวรรณ์, คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนศรีหฤทัยอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2556.
นงลักษณ์ เพิ่มชาติ. คุณภาพชีวิตการทำงานของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วิทยานิพนธ์รัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 2551.
นพพร ทิแก้วศรี และปาริชาติ หมูแสนทอง. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู กรณีศึกษาครูระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 2557.
นิตพร บุญหนัก. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 2553.
นิตยา พรมพินิจ, วัลนิกา ฉลากบาง และ พิศุทธิ์ กิติศรีวรพันธุ์, การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 5, 3 (กันยายน – ธันวาคม 2558): 42-47.
ปรียาภรณ์ พวงทัย, คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในสหวิทยาเขตชาวดอย สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2559.
เพ็ญศรี เวชประพันธ์, คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2557.
ภัทราวรรณ แนบสนิท. คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมืองสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2554.
ศรีนาย คุเณนทราศัย. คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 2551.


สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, คุณภาพชีวิตของข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2560).
สีตลา สุรเศรณี. คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการโรงเรียนประจวบวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 2551.
สุภัศศรณ์ พนมไพรพฤกษา และ กาญจน์ เรืองมนตรี, การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการ
ทำงานของครูโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ, วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา 8, 1 (มกราคม – เมษายน 2560): 116-128
สุภาพรรณ สุขทอง, การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู กลุ่มโรงเรียนบางเสาธง สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559.
แสนคำนึง ตรีฤกษ์ฤทธิ์, ชีพสุมน รังสยาธร และอภิญญา หิรัญวงษ์, คุณภาพชีวิตและการเตรียมความพร้อม
ก่อนการเกษียณอายุของข้าราชการครู จังหวัดชลบุรี, วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) 35, : 460-471.
หทัยพันล์ พูลสวัสดิ์. คุณภาพชีวิตในการท างานของพนักงานครูโรงเรียนเทศบาลแหลม ฉบัง 1 จังหวัดชลบุรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2555.
หทัยพันล์ พูลสวัสดิ์. คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานครูโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 จังหวัดชลบุรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2555.
อมฤต หัศกรรจ์, คุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20
จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2557.

ภาษาอังกฤษ
Ighoroje Maroh et al, Subjective Quality of Life and Psychiatric Morbidity amoung School
Teachers in Abeokuta, South West Nigerai. International Neuropsychiatric Disease Journal 11, 3 (December 2018): 1- 12.
Siti Intan Diyana Ishak and others, A Literature Review on Quality Teacher’s Working Life.
MATEC Web of Conferences 150, accessed October 2018, available from https:// www.researchgate.net/publication/323359689_A_Literature_Review_on_Quality_Teacher's_Working_Life
Soheila Dabiran and others, Assessment of Quality of Life of the Teachers in Girl’s High
School Compared to General Population in Iran. Annals of Medical and Health Sciences Research 8. 3 (March 2018):170-173.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2020