การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Main Article Content

สราวุธ แช่มช้อย
วรกาญจน์ สุขสดเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1)  การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูโรงเรียนภัทรญาณวิทยา รวมทั้งหมด 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามกฎกระทรวงวิธีการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ของกระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 17 ด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย โดยด้านที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตมากที่สุด 3 ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา และด้านที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตน้อยที่สุด 3 ด้านคือ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และการพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้

  2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา เป็นดังนี้ สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และวางแผนการดำเนินงานวิชาการของสถานสึกษา มีการติดตามประเมินผล พัฒนาการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับความรู้และพัฒนาตนเอง มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลม กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2546, 33-38.
กิ่งแก้ว เฟื่องศิลา, การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร), ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558, บทคัดย่อ.
ธีระพร อายุวัฒน์, แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552, บทคัดย่อ.
พระมหาปริญญา เตชปญฺโญ (ปราบชมพู), การบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร, พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556, 77-78.
เรวดี ซ้อนเพชร, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556 บทคัดย่อ.
วสันต์ ปรีดานันต์, การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553 บทคัดย่อ.
วันชัย พงสุพันธ์, การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3, ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553 บทคัดย่อ.
โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์, การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553 บทคัดย่อ.
อังคณา มาศเมฆ, การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557 บทคัดย่อ.
Fred, Lunenburg C. and Allan V. Ornstein. Educational Administration:Concepts and
Practices, 7th ed. (CA: Wadsworth Publishing, 2012.
John W . Best and James V . Kahn, Research in Education, 10th ed. (Boston, Mass : Allyn and Bacon, 2006), 310
Likert, Rensis. New Patterns of management, New York : McGraw-Hill.1961.