ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • อภิชญา จะเรียมพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สงวน อินทร์รักษ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา                   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์                      ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ประชากร คือ โรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 55 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 1 คน คือ ตัวแทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 55 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา 30 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 54.54 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิดของ ฮิทท์ ไอร์แลนด์ และฮอสคิสสัน (Hitt, Ireland and Hoskisson) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ระดับมาก 4 ด้าน โดยเรียงตามลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิผล ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ ด้านการบริหารทรัพยากรในองค์การ และด้านการจัดตั้งควบคุมองค์การให้สมดุล ตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่าแตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). จุดเน้นสู่คุณภาพผู้เรียนจุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : โรง
พิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ.
ณัฐนันท์ทร เอี่ยมแทน. (2559). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับบรรยากาศ สังกัดเทศบาล กลุ่ม
การศึกษาท้องถิ่นที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.
นวลจันทร์ จุนทนพ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล
ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ปนัดดา วรกานต์ทิวัตถ์. (2555). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
กรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปรียกร อรุณจินดาตระกูล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 15 ฉบับที่ 29 กรกฎาคม – ธันวาคม.
ภัทรญา อธิภัทรวาทิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการควบคุมองค์การให้สมดุลกับการบริหารความขัดแย้ง
ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน.
มันทนา กองเงิน. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เยาวรินทร์ ยิ้มรอด. (2559). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน
มาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งนิรัญ พุทธิเสน. (2557). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรารักษ์ หนึ่งโชคชัย. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูใน
สถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2552). ภาวะผู้นำทางการศึกษาในสังคมโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภาษาอังกฤษ
Davies, B., Davies, B.J. and Ellison, L. (2005). Success and Sustainability Developing the
Strategically Focused School. National College for School Leadership. Nottingham NCSL.
Dubrin, A. J. (1998). Leadership: Research Findings, Practice, and Skills. Boston: Houghton.
Gregory G. Dess and Alex Miller. (1993). Strategic Management. Singapore: Mc Graw – Hill.
John W. Best. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall.
Johnson G., and K. Scholes. (2003). Strategic Management in Practice from Exploring
Corporate Strategy, 6th ed. London: Prentice-Hall.
Michael A. Hitt, R. Duane Ireland and Robert E. Hoskisson. (2007). Management of Strategy :
Concepts and Cases. China: Thomson South-Western.
Preedy, Glitter M., R and Wise C. (2003). Strategic Leadership Challenges. Strategic
Leadership and Educational Improvement. London Cromwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2020