การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. เพื่อทราบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรสาคร 2. เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมทั้งหมด 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การปฏิบัติงานของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ผู้วิจัยได้สร้างตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ตามแนวคิดของเบสท์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวมและเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมจากมากไปหาน้อย พบว่า ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน อยู่ในระดับมากเป็นลำดับแรก รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ อยู่ในลำดับสุดท้าย
2. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ส่งเสริมให้ครูแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง จัดกิจกรรมคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้เรียน พัฒนาความสามารถของผู้เรียนโดยตอบสนองความถนัด สร้างแผนการการจัดการเรียนรู้ คิดค้นใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ จัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของบุคคล จัดเทคนิคการเรียนการสอนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้อื่น ร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษาให้กับชุมชน ค้นหา สังเกต ข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สร้างการพัฒนาตนเองเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
References
ภาษาไทย
กองเทพ เคลือบพณิชกุลและคณะ,รวมกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ(กรุงเทพฯ :
ภูมิบัณฑิต, 2549), 52
เฉลิมขวัญ ถือความสัตย์, “การตัดสินใจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูใน สถานศึกษาสังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 2555), 98-99.
ชาติชาย ศรีจันทร์ดี, “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติตามมาตรฐาน วิชาชีพครู 2556”
(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556), 101.
เชษฐา ไชยเดช,”คุณภาพชีวิตการทำงานของครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู ใน
สถานศึกษาคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2550),บทคัดย่อ,
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, “มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน” (วิทยานิพนธ์คณะ ศึกษาศาสตร์
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555), 30.
พระมหาณัฐพล ดอนตะโก, “คุณธรรมของผู้บริหารกับการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต 1”(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551), 79-80
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546,” ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120, ตอนที่ 52
ก. (11 มิถุนายน 2546) : 5.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์, วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2538), 117.
พัชนี รัศมี , “การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2” (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2552), บทคัดย่อ.
พิชชาพร อุ่นศิริ , “วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน
วิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554), 111-112.
พินิจ แสนวัง “สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทาง การศึกษาของครูใน
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555), 113-114.
ราชบัณฑิตยสถาน,พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554,พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา
อินเตอร์พริ้นท์, 2556), 902.
วิทยา จักรไชย,”ทัศนะของครูที่มีต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1” (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี,2552), 190-194.
สมบัติ บุญประคม, ”ครูกับการวิจัยในชั้นเรียน” วารสารประชาศึกษา 52, 3 (กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2545) : 3.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภา, 2556), 4.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว, 2556), 65.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, เกณฑ์มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพครู, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2556), 30-57.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546, พิมพ์ครั้งที่ 9
(กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2548), 2.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2556), 4-5.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : สูตรไพศาล, 2553), 4.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,รายงานการวิจัยเรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี,
พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์, 2553), 100-101.
สำนักงานเลชาธิการคุรุสภา, คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2548), 9.
สุวธา ฤกษ์เกษม, ฐิติพร พิชญกุล และอรสา โกศลานันทกุล,”การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของ
ครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” (วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย
อลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 ตุลาคม 2551 – มกราคม 2552), 107-108.
อิ่มทิพย์ อนิศดา, “คุณภาพชีวิตของครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ครูในโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4” (วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 2555), 116-118.
ภาษาต่างประเทศ
Likert, Rensis .New Patternt of Management (New York: McGraw-Hill, 1961), 204-208.
Lunenburg, Fred C. and Ornstein, Allan V. Educational Administration: Concepts and
Practices, 6th ed. (CA: Wadsworth Publishing. 2007). 30-33
fromhttp://www.lib.umi.com/dissertations/fullcit. Abstract..
Best, John W. Research in Education, 4th cd. Englewood Cliffs (New Jersey: Prentice-Hall,
1981), 182.