แรงจูงใจในการทางานของครูโรงเรียนราชินีบูรณะ

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ทองดอนจุย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สงวน อินทร์รักษ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการทำงานของครู

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) แรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนราชินีบูรณะ 2) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนราชินีบูรณะ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ 108 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการทำงานของครู ตามแนวคิดของ เฮิร์ซเบิร์กและคณะ( Herzberg and other) สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. แรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนราชินีบูรณะ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก พบว่า ปัจจัยจูงใจในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงค่ามัชฌิมเลขคณิต ดั้งนี้ ความรับผิดชอบ การได้รับการยอมรับนับถือ โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ลักษณะของงาน และความสำเร็จในการทำงาน ปัจจัยค้ำจุน พบว่า ภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิต ดังนี้ ความมั่นคงในงาน ฐานะของอาชีพ สภาพการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา เงินเดือน ความเป็นอยู่ส่วนตัว วิธีการปกครองบังคับบัญชา
ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา และนโยบายและการบริหารงานขององค์กร

           2. แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนราชินีบูรณะ พบว่า ปัจจัยจูงใจ ควรส่งเสริมครูให้ทำงานโดยกำหนดระยะเวลา ช่วยเหลือ ชี้แนะ เปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความคิดอย่างเต็มที่ ส่งเสริมด้านวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การทำงานประสบความสำเร็จ ปัจจัยค้ำจุน พบว่า ส่งเสริมการทำงานชี้แจงข้อมูลด้านแผนงานและนโยบายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ให้แก่บุคลากร กระจายงานอย่างเป็นระบบ ยุติธรรม มีแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่ชัดเจน ส่งเสริมให้ครูใช้ชีวิตแบบพอเพียง      

References

คฑาวุธ สิทธิโชคสุกล, “แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิ
คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
ชูเกียรติ ยิ้มพวง, “แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัดโรงงาน
จังหวัดปทุมธานี” ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ คณะ
บริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.
โชติกา ระโส, “แรงจูงในในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์” ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2555
จันทรานี สงวนนาม, ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ:
บุ๊คพ้อย จำกัด, 2553.
เถลิงศักดิ์ อินทรสร, “แรงจูงใจกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ใน มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.
โรงเรียนราชินีบูรณะ,รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561.
สุราง โคว้ตระกูล, จิตวิทยาการศึกษา,พิมพ์ครั้งที่ 9 (กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
,2553.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, แผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12(พ.ศ.2560 -
พ.ศ.2564) กรุงเทพฯ: นักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2559
Frederick Herzberg, Bernard Mausner and Barbara B. Snyderman, The motivation to work,
2nded.New York : John Wiley & Sons Inc,1959.
Lunen Fred C.And Allan C. Ornstein, Educational Administration: Concepts and Practices,
6thed. CA:Wadworth Publishing,2012.
Webster Laura Elizabeth, “Teacher motivation to implement an educational
innovation:Teacher efficacy,task value,and percepyion of administrative
support” Ed.D.dissertation, University of Southern California , 2006

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/17/2020