การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

Main Article Content

ไพลิน พิงพิทยากุล
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี 127 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการบริหารงานวิชาการตามคู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิต ดังนี้ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก การวัดผลประเมินผลและเทียบผลการเรียน อยู่ในระดับมากเป็นลำดับที่สอง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ อยู่ในอันดับสุดท้าย
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี มี 12 แนวทาง 1) สนับสนุนให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร 2)ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะชีวิตที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ 3) พัฒนาเครื่องมือวัดผลประเมินผลให้เหมาะสมกับผู้เรียน 4) สนับสนุนการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 5)จัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีแก่บุคลากร 6)สนับสนุนให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก 7)ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการนิเทศ 8) สนับสนุนให้มีการแนะแนวการศึกษาต่อ 9)จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอกให้ 10)ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมทางวิชาการแก่ชุมชน 11)ส่งเสริมให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเข้าร่วมโครงการที่องค์กรต่างๆจัดขึ้น 12)ส่งเสริมการอบรมด้านวิชาการเพื่อไปเผยแพร่องค์ความรู้แก่ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลม กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2546), 33-38.
กฤติกา พูลสุวรรณ การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2559,92
จิราวดี พวงจันทร์, การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ระดับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาราชบุรี เขต 29, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2554, บทคัดย่อ
ชาติชาย ทนะขว้าง,อินทร์ จันทร์เจริญ และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต37, หลักสูตรศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาลัยเชียงราย ,2558 , บทคัดย่อ.
ณรงค์ชัย ศรีศศลักษณ์ การนิเทศในโรงเรียนกลุ่มบางเลน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม 29 ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2557,บทคัดย่อ
นิรมล ชาสงวน มนตรี อนันตรักษ์ และ สุเทพ ทองประดิษฐ์ การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนของ สถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ,สาขาการบริหารการศึกษา คณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม,2558,บทคัดย่อ
ยุพิน ยืนยง,การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ของครูเขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, ศึกษาศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2553,บทคัดย่อ
ละมุล รอดขวัญ,การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา ภาคใต้ตอนบน, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ,2555, 183.
วศิน ชูชาติ,ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของ ผู้เรียนแห่ง ศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2559,บทคัดย่อ
วัชรา เมษะเลิศพัฒน์ การประกันคุณภาพภายในกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต29, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2557,บทคัดย่อ
ว่าที่ร้อยตรีนิวัฒน์ บุญสม,การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกระบวนการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทาง
วิทยาศาสตร์,ศึกษาศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2557, บทคัดย่อ
สมชัย จรรยาไพบูลย์ ,รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต29, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ,2555, 158-161.
สุริยา ทองยัง,ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะล่อม สังกัดกรุงเทพมหานคร, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2558,บทคัดย่อ
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 พ.ศ.2560–2564,กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558,1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, แนวทางการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2550,30-51.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , แนวทางพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยะบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2553, กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,2553,15
โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์,การริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,2553,131.
อารีย์ สตารัตน์ การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชนาวี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2556, บทคัดย่อ.
อเนก อัคคีเดช, การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครปฐม เขต 2, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2553,บทคัดย่อ
อุษา แซ่เตียว,ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรสงคราม, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,
2559, บทคัดย่อ
Fred, Lunenburg C. and Allan V. Ornstein. Educational Administration:Concepts and
Practices, 7th ed. (CA: Wadsworth Publishing, 2012.
John W . Best and James V . Kahn, Research in Education, 10th ed. (Boston, Mass : Allyn and Bacon, 2006), 310
Likert, Rensis. New Patterns of management, New York : McGraw-Hill.1961.