แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนวัดเขารักษ์

ผู้แต่ง

  • โสธิยา ม่วงจาบ คณะศึกษาศาสตร์
  • ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

Academic administration, Wat Khaorak school

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานวิชาการโรงเรียนวัดเขารักษ์ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดเขารักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ประชากร คือ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนวัดเขารักษ์ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1.การบริหารงานด้านวิชาการโรงเรียนวัดเขารักษ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า อยู่ในระดับมากจำนวน 16 ด้าน โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ด้านการจัดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการแนะแนว ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา

                2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดเขารักษ์ ควรดำเนินการ ดังนี้ ให้ชุมชน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร มีการวางแผนการนิเทศ มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และวัดผลประเมินผลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ครูมีการทำวิจัย มีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน มีการเผยแพร่ข่าวสารทางวิชาการให้แก่ชุมชน ครูมีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อและเทคโนโลยี

 คำสำคัญ :  การบริหารงานวิชาการ,โรงเรียนวัดเขารักษ์

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560- 2564, (กรุงเทพมหานคร : 2560).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 (กรุงเทพฯ:
บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค จำกัด, 2540)
ขวัญใจ แสงเจริญ, การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ) สังกัด กรุงเทพมหานคร,ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.
หทัย ศิริพิน, “แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ ประสิทธิ์,ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
ยิ่งลักษณ์ ศรีตองอ่อน, การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนกับการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชนจังหวัดสุพรรณบุรี, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.
มณีรัตน์ กมลพัฒนานันท์, การตัดสินใจของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน,วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.
อังคณา มาศเมฆ, การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
กิ่งแก้ว เฟื่องศิลา, การบริหารงานวิชาการโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร), การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
ศรีนภา ฉิมเฉย, สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
นิว ตาคม, การตัดสินใจกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.
สุพล พรเพ็ง, การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธน ใต้, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.
เกตกนก สวยค้าข้าว, การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 9, การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.
ภาษาต่างประเทศ
Paul Adams, Considering Best Practice: The Social Construction of Teacher Activity and Pupil Learning as Performance, Cambridge Journal of Education 38, 3 September 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/17/2020