ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

ณัชชา อ่อนสัมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2)      เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 081 102 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English Skills Development) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ทำการทดลองโดยผู้วิจัยจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ นำเสนอปัญหา ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และ สรุปความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กานต์สิรี เผ่านาคธรรมรัตน์ และคณะ.(2552). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยการใช้วิธีการสอนแบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning). (งานวิจัยคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี).
ขนิษฐา นาคน้อย.(2550). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่มีต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
จิกามาศ สุขเกษม. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
จิราภรณ์ แม็คกลาเดอร์รี่. (2555). การใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
จุฑามาศ สุคนธา, (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนแบบปัญหาเป็นฐานกับการสอนตาม แนวธรรมชาติเพื่อการพัฒนาความสามารถในการใช้ Linking Ideas ของนักศึกษา รายวิชา EBC332 สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธุวพร ตันตระกูล. (2555). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้บทฝึกการสนทนา
ภาษาอังกฤษ. (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธีราภรณ์ กิจจารักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย)กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ทิศนา แขมมณี. (2557, พฤษภาคม.). ปลุกโลกการสอนให้มีชีวิตสู่ห้องเรียนแห่งศตวรรตใหม่. อภิวัฒน์
การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมของสำนักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).
ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์. (2538). การเรียนการสอนแบบติวเตอร์เรียนกลุ่มย่อย. กรุงเทพฯ:คณะแพทย์ศาสตร์.
เบญจวรรณ อ่วมมณี. (2549). การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเรื่องการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ปาริชาต จันทร์งาม. (2556). การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน. (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
พัชรากราณต์ อินทะนาค. (2546). กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ:
วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
รงษ์ เรืองวงษ์. (2556). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาสามัตถิยะทางการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบกลยุทธการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศาสตรา สหัสทัศน์, และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษใช้ในการอบรมภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนแบบปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) สำหรับใช้ในการอบรมภาษาอังกฤษให้แก่ยุวมัคคุเทศก์เพื่อการเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน(ASEAN Community). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน).
ศิรินันท์ เอื้อนไธสงค์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ศิริวรรณ ชัยศิริวงษ์. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2561). การสร้างองค์การนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย.
วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 257-270
สมบัติ คชสิทธิ์, จันทนี อินทรสูต และ ธนกร สุวรรณพฤฒิ.(2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับ
ผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 175-186.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ภาษาต่างประเทศ
Aydinli, J. M. (2007). Problem-Based learning and Adult English language Learners. CAELA Brief, 1-8. Retrieved from http://www.cal.org/adultesl/pdfs/problem-based-learning-and-adult-english-language-learners.pdf
Barrell. (2007). Problem-Based Learning: An Inquiry Approach. California, US. Corwin Press.
Barrows, H.S. and Tamblyn, Roblyn M. (1980). Problem Based Learning: An Apprpach
to Medical Education. New York: Spinger.
Barrows, H., & Kelson, A. C. (1995). Problem-based learning in secondary education, Problem-Based Learning Institute. Springfield, IL.
Barrows, H. S. (2000). Problem-Based Learning Applied to Medical Education, Sprinfield, Southern Illinois University Press.
Best, J. W. (1986) Research in Education, 5 ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice – Hall, Inc.
Duch, Barbara J. (1995). What is Problem-Based Learning?. Retrieved from http://www.udel.edu/pbl/cte/jan95-What.html.
EF Education First. (2018). The world's largest ranking of countries and regions by English skills. Retrived from https://www.ef.co.th/epi/
Fazlur Rahman. et al. (2011). Problem Based Learning in English Language Classes at secondary Level. International Journal of Academic Research, 3(1) ,932-939.
Grant, N. (1988). Making the Most of Your Textbook. London : Longman.
Hmelo-Silver, C. E. (2004). Problem-Based Learning: What and how do students learn?
ducational Psychology Review, 16.
Kirkpatrick, R. (2012). English education in Thailand: 2012. Asian EFL Journal, 61, 24-40.
Kreger, C. (1998). Problem-Based Learning. Retrieved from
http://www.cotf.edu/ete/teacher/tprob/trob.html.
Littlewood, William T. (1983). Communicative approach to language teaching methodology (CLCS Occasional Paper No. 7). Dublin: Dublin University, Trinity College, Centre for Language and Communication Studies. (EDRS No. ED 235 690, 23).
Ommundsen, Peter. (2001). Problem-based learning in biology with 20 case examples.
Retrieved from http://capewest.Ca / pbl.html
Torp and Sage. (2002). Problems as Problem-Based Learning for K-12Education, 2nd ed. ASCD, Alexandria, VA.
Wall, U. (2005). The preferred learning style and strategies of adults Thai EFL students in a Bangkok business setting. Retrieved from http://www.besig.org/link.htm
Wannapok, S. (2004). A Study English for Business and Technology Students’ Attitudes towards the English for Business and Technology Program at the University of the Thai Chamber of Commerce. (Independent Study, University of the Thai Chamber of Commerce, Bangkok, Thailand.