เอกภาพและความหลากหลายกับนโยบายเพื่อการพัฒนาการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ขวัญนภา อุณหกานต์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

เอกภาพและความหลากหลาย การพัฒนาการศึกษา

บทคัดย่อ

                 การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นการกำหนดอนาคตและความเจริญก้าวหน้าของประเทศในสภาวการณ์ที่โลกมีการแข่งขันสูง กระแสการพัฒนาและปฏิรูปการศึกษาจึงเกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทย กระแสการตื่นตัวเรื่องศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการวิเคราะห์จุดอ่อนของการศึกษาไทย เช่นการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทสไทย (TDIR) หรือการชี้ประเด็นจาก UNESCO รวมทั้งโดยบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ซึ่งถูกนำมาเป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดหลักการเชิงนโยบายเอาไว้ว่า นโยบายการศึกษาต้องมีเอกภาพทางนโยบายและมีความหลากหลายในเชิงปฏิบัติ หลักการนี้ถูกกำหนดภายใต้ความเชื่อว่านโยบายที่จะประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีความเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีความต่อเนื่อง โดยมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่าง ๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา “ปัจเจกบุคคล”-เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย “มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”-เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งการเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม

References

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019