การถอดบทเรียนแนวทางปฏิบัติที่ดีของพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามต้นแบบ NRRU
คำสำคัญ:
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, คุรุสภา, พี่เลี้ยงบทคัดย่อ
ในปี 2019 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา 5 โรง ได้แก่ โรงเรียนประชาสามัคคี โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) โรงเรียนปากช่อง 2 โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” และโรงเรียนพงษ์ศิริวิทยา ได้รับเงินอุดหนุนกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพจากคุรุสภา มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย และบริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด โดยมีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเป็นสถาบันทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาได้เข้าร่วมกิจกรรม PLC นี้ในฐานะคณะทำงานกำกับ ติดตามและประเมินผล จากการถอดบทเรียนได้แนวปฏิบัติที่ดีในการทำหน้าที่พี่เลี้ยง เรียกว่า NRRU model โดย N คือ Navigator เป็นผู้ชี้นำความรู้และการดำเนินกิจกรรม PLC ส่วน R ตัวแรกคือ Reflector เป็นผู้สะท้อนแผนการจัดการเรียนรู้และผลการสังเกตการสอนอย่างสุนทรียสนทนา ส่วน R ตัวที่สองคือ Relaxer เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำช่วยให้ครูผ่อนคลายและมีบรรยากาศความสุขในการทำงานและเรียนรู้ สุดท้ายคือ U คือ Upgrader เป็นผู้ที่ยกระดับการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนและผู้เรียนได้โดยผ่านการปรับความรู้ของพี่เลี้ยงให้ทันสมัย
References
Laor, S., Morakot, P., Suwat, P., & Kanitha, P. (2562). "The Professional learning community (PLC) Process for the Development of Reading Comprehension skill in Science Classroom: A Case Study of Prachasamakkee School ". เอกสารสืบเนื่อง การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 หน้า 424-431. วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2562 โรงแรมสยามออเรียนทัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.
Vescio, V., Ross, D., & Adams, A. (2008). "A review of research on the impact of professional learning communities on teaching practice and student learning". Teaching and Teacher Education, 24(1): 80-91.
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2562). คณะทำงานกำกับ ติดตาม และประเมินผลเครือข่ายที่ได้รับเงินอุดหนุนกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สืบค้นจาก https://sciencetech.nrru.ac.th
คุรุสภา. (2562). ผลการจัดสรรเงินอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ประจำปี 2562. สืบค้นจาก http://www.ksp.or.th/ksp2018/2019/08/8166/
บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด. (2020). Chevron Enjoy Science. สืบค้นจาก https://thailand.chevron.com
พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย. (2019). How Professional Learning Communities are Transforming Education in Thailand. สืบค้นจาก https://www.kenan-asia.org/professional-learning-communities-thailand/
รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมม์
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ขัอบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตฐานวิชาชีพ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562. สืบค้นจาก http://www.ksp.or.th/ksp2018/wp-content/uploads/2018/11/T_0018.pdf
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.). (2560). ว21/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. สืบค้นจาก https://otepc.go.th/images/00_YEAR2561/03_PV1/w21.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/plan/EducationPlan12.pdf
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 12 ปี พ.ศ.2561-2580 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค
หอสมุดคุรุสภาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2020). วิดีทัศน์ PLC: Professional Learning Community (PLAN DO SEE) สืบค้นจาก http://site.ksp.or.th/content.php?site=library&SiteMenuID=4414