การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ ในกำกับดูแลองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

เอกวุฒิ อุสายพันธ์
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
ภัทรพล มหาขันธ์

บทคัดย่อ

                การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ในกำกับดูแลองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ในกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ 2) วิเคราะห์ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ในกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ที่อยู่ในกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือ ประเด็นการสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ในกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า


                1. ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ ในกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้จากการสัมภาษณ์ มีจำนวน 8 ตัวบ่งชี้ เป็นตัวบ่งชี้เกี่ยวกับ
1) การจัดให้ผู้เข้าชมสวนสัตว์เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) เนื้อหา สาระ ความรู้ และการรวบรวมองค์ความรู้ภายในสวนสัตว์ 3) การจัดแสดงสัตว์ป่าและการจัดนิทรรศการในสวนสัตว์ 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสวนสัตว์ 5) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสวนสัตว์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เข้าชมสวนสัตว์ 6) สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในสวนสัตว์ในการเรียนรู้ของผู้ที่มาเที่ยวชมสวนสัตว์ 7) การบริหารจัดการด้านการศึกษาของสวนสัตว์ 8) นโยบาย วิสัยทัศน์ และผู้บริหาร


                2. ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสวนสัตว์ ในกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า มีตัวบ่งชี้จำนวน 46 ตัวบ่งชี้ สามารถนำมาจัดเป็นกลุ่มขององค์ประกอบได้ 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (19 ตัวบ่งชี้) 2) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ (10 ตัวบ่งชี้) 3) องค์ประกอบด้านเนื้อหาสาระและองค์ความรู้ (4 ตัวบ่งชี้) 4) องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (3 ตัวบ่งชี้) 5) องค์ประกอบด้านภาคีเครือข่าย (4 ตัวบ่งชี้) 6) องค์ประกอบด้านวิทยากร (3 ตัวบ่งชี้) 7) องค์ประกอบด้านการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ (3 ตัวบ่งชี้)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-